วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กฎหมายเกี่ยวกับนก


กฏหมายเกี่ยวกับนก ตามพระ ราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนก
กฏหมายเกี่ยวกับนก ตามพระ ราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่องการประกวดแข่งขันนกปรอดหัวโขน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยอธิบดีกรมป่าไม้ที่ระบุว่า "ผู้ ใดจะนำสัตว์ป่าคุ้มครอง ชนิดนกปรอดหัวโขน หรือสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าประกวดแข่งขัน จะต้องนำเอกสารการแจ้งการครอบครองตามมาตรา 66 หรือ 67 ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 และต้องนำเอกสารดังกล่าวติดตัวสัตว์ป่าไปด้วยทุกครั้ง และผู้ที่นำสัตว์ป่าไปเข้าประกวดแข่งขันจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสาร ดังกล่าวข้างต้น หรือผู้เข้าประกวดนำสัตว์ป่าคุ้มครองอื่นไปแข่งขัน หรือมีการตกลงกันซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองภายในสถานที่ประกวด จะมีความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"



วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สำนวนเพลงร้อง และรูปแบบน้ำเสียงของนกกรงหัวจุก

สำนวนเพลงร้อง และรูปแบบน้ำเสียงของนกกรงหัวจุก(แบบฉบับวิชาการ) 

มาลองอ่านเพื่อประดับความรู้กันครับ......... 

สำนวนเพลงร้อง แบ่งออกตามจำนวนพยางค์ได้ดังนี้ 

1.สำนวนสั้น(เพลงสั้น)อาจฟังไม่ไพเราะเท่าที่ควรเพราะเป็นเพลงสั้น 3-4 พยางค์ เช่น ฟิก-ฟี-เลี่ยว , ฉกฟิกฟีเลี่ยว , ฟิก-ฟี-กว่อ . ฟิก-ไกว๋-หย่อ 

2.สำนวนกลาง(เพลงกลาง) ฟังไพเราะเสนาะหูกว่าสำนวนสั้น เพราะเป็นเพลง 5-6 พยางค์ เช่น ฉก-ฟิก-ฟอ-ฟี้-เลี่ยว , ฉก-ฟิก-กว๋อ-ไกว๊-หย่อ . ฟิก-ฉก-ฟิก-ฟี-เลี่ยว . ฟิก-ฉก-ฟิก-ไกว๊-หย่อ 

3.สำนวนยาว(เพลงยาว) ฟังไพเราะมาก เพราะร้องได้ถึง 7-9 พยางค์ ปัจจุบันจะหาฟังได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะนกที่ร้องเพลงยาว 7-9 พยางค์ และมีน้ำเสียงดีด้วยแล้ว ยิ่งหาฟังได้ยากยิ่งจริงๆ เช่น ฉก-ฟิก-ฟอ-ฟี้-เลี่ยว-ฉก-ฟิก-ฟอ-ฟี้-เลี้ยว , ฟิก-ฉก-ฟิก-ฟอ-ลิ-ติ-กว่อ ,ฟิก-ฉก-ฟิก-ฟอ-ลิก-ฟี้-เลี่ยว , ฟิก-ฟิก-ฝก-ฟิก-กวอ-ลิ-ติ-กว่อ , ฉก-ฟิก-กวอ-ลิก-ไกว๊-หย่อ , ฉก-ฉก-ฟิก-กวอ-ลิก-ฉก-ฟิก-ไกว๊-หย่อ 

***นอกเหนือจากสำนวนเพลงทั้ง 3 แบบก็มีการร้องเล่นๆ เช่น ควิก-ควิก , ฟิต-เฟี่ยว , ฉก-ฉก , ปิ๊ด-ปิ๊ด , ฉก-ฟิก ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการร้องที่มีการนับสำนวนไม่เป็นเพลง ไม่มีเสียงสูง-ต่ำ และในแต่ละคำไม่ถึง 3 พยางค์*** 

รูปแบบน้ำเสียง แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 

1.เสียงเล็ก โดยทั่วๆไป รูปร่างของนกมักเป็นตัวเล็ก ช่วงสั้นมีลีลาคล่องแคล่ว กระโดโลดเต้นตลอดเวลา ร้องมาก เพลงสั้นๆ และไม่ค่อยมีเว้นวรรค แต่ละพยางค์ร้องติดๆกัน ฟังไม่ค่อยชัดเจน ไม่เน้นจังหวะต้นปลาย เช่น ฟิก-ฉก-ฟิก-ติ-เปี๊ยว 

2.เสียงกลาง เป็นเสียงร้องของนกกรงหัวจุกส่วนมากในปัจจุบัน ซึ่งมีเสียงกลางเต็ม กลางไม่เต็ม แยกไปอีกชั้นหนึ่งสำหรับผู้ฟังเสียงนกเป็นแล้ว แต่ปกติโดยรวมจะเรียกเป็นนกเสียงกลาง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเพลงที่ร้องด้วย มักจะเน้นต้น กลาง และปลาย ให้ชัดเจนกว่าคำอื่น ฟังดูกลมกลืน น้ำเสียงม่แหบเครือ เช่น ฉก-ฟิก-ฟอ-ฟี้-เลี่ยว , ฉก-ฟิก-กวอ-ลิ-ติ-กว่อ 

3.เสียงใหญ่ ปัจจุบันที่มีน้ำเสียงแบบนี้หาได้ยากมาก ที่เคยพบเห็นมักเป็นลำตัวช่วงยาว หน้าอกใหญ่ ลำคอพองใหญ่ ศีรษะและใบหน้าใหญ่ รูปร่างสง่างาม 

***เพลงที่ร้องมักเป็นเพลงยาว มีการเน้นจังหวะปลายดีมาก ฟิก-ฉก-ฟิก-กวอ-ลิก-ติ-กว่อ , ฉก-ฟิก-กวอ-ลิก-ไกว๊-หย่อ , ฉก-ฉก-ฟิก-ฟอ-ฟี้-เหลี่ยว จังหวะต้นธรรมดา เมื่อร้องคำปลายน้ำเสียงมักจะต่ำ ห้าว ทุ้ม เสียงก้องกังวาน เปล่งออกจากลำคอโดยตรง
 


ที่มา : หนังสือคัมภีร์การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ นกกรงหัวจุก