วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การดูแลและให้อาหารนกกรงหัวจุก


นกป่าหากินเองตามธรรมชาติ แต่เมื่อเรานำมาเลี้ยงควรให้อาหารให้พอเพียงกับความต้องการของด้วยและชนิดของอาหารก็สำคัญด้วย เพื่อให้นกเจริญเติบโตและอยู่กับผู้เลี้ยงไปนานๆ


อาหาร

        ในตอนเช้า เปิดผ้าคลุมกรงนกออก แล้วเปลี่ยนอาหารให้นกกินใหม่ โดยการผ่ากล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก มะเขือเทศสุก ลูกตำลึงสุก แตงกวา บวบ ออกเป็นครึ่งลูก หรือทำเป็นชิ้น ๆ ถ้าเป็นลูกตำลึงลุกก็ให้ทั้งลูกเลย การให้อาหารควรจะสลับกันไปวันละ 2 ชนิด เพื่อกันไม่ให้นกเบื่ออาหาร สำหรับอาหารเม็ดก็ใส่ไว้ในถ้วยอาหาร อาจจะไม่ต้องให้ทุกวัน
จันทร์ /กล้วยน้ำว้า(จะให้คุณค่าทางอาหารเช่นวิตามินต่างๆ)
อังคาร /มะละกอ(ช่วยในการขับถ่ายดี)
พุธ /ส้มเขียวหวาน(ช่วยทำให้แก้หวัด+เสียงจะสดใส่ดี)
พฤหัสบดี /แตงกวา(ต้องล้างให้สอาดด้วยนะครับ)
ศุกร์ /บวบ (สำคัญมากเพราะมีเส้นใยช่วยในการขับถ่ายของเสียจากตัวนก)
เสาร์ /ข้าวคุกแกงส้ม(ในส่วนผสมของพริกแกงสมจะมีสมุนไพรหลายอย่าง)
อาทิตย์ /กล้วยน้ำว้า(จะให้คุณค่าทางอาหารเช่นวิตามินต่างๆ)
การให้อาหารของคนเลี้ยงนกแต่ละท่านอาจจะไม่เหมือนกันนะครับอาจจะต่างคนต่างความคิด แล้วท่านใดหมุนเวียนให้อาหารอะไรบ้าง

สังเกตดูขี้นก

        ในตอนเช้า เมื่อเปิดกรงนกหัวจุก ให้สังเกตดูขี้นก หากขี้นกเป็นแบบขี้จิ้งจก คือเป็นเม็ดสีขาวดำ แสดงว่านกเป็นปกติ แต่ถ้าขี้นกเป็นขี้เหลว หรือขี้เป็นน้ำ ก็แสดงว่านกเป็นโรคต้องรีบรักษาทันที

น้ำ

        ให้เอาน้ำเก่าทิ้งไป แล้วเอาน้ำใหม่ใส่ให้เกือบเต็มถ้วย เพราะน้ำเก่าอาจจะสกปรก


ควรนำนกกรงหัวจุกไปตากแดด

        ในตอนเช้าผู้ที่เลี้ยงนกกรงหัวจุกจะต้องรู้วิธีการยกกรงนกไปแขวน โดยมีวิธีการยกคือ มือหนึ่งจะต้องหิ้วที่ตะขอกรงนก เมื่อไปถึงชายคาบ้าน หรือราวที่จะแขวนกรงนก หรือกิ่งไม้ หรือราวที่ฝึกซ้อม และราวที่จะแขวนนกประกวดแข่งขันแล้ว ก็ใช้มือข้างที่ถนัดจับที่มุมกรงมุมใดมุมหนึ่งที่เป็นเสากรง เพราะซี่ลูกกรงจะบอบบางไม่แข็งแรงและหัดได้ จากนั้นก็ยกกรงนกขึ้นชู โดยดูที่ตะขอแขวนนกว่าตรงกับที่แขวนหรือราวแล้วหรือยัง ถ้าตรงกบที่แขวนและราวแล้ว ก็ให้ปล่อยมือลง
        ข้อควรระวัง อย่าแขวนนกที่มีอายุน้อยใกล้กับนกที่มีอายุมาก ซึ่งนกที่มีอายุมากจะข่มขู่นกที่มีอายุน้อยกว่า เพราะนกสามารถจะจำเสียงได้ และจะตื่นแล้วการที่จะนำนกไปแขวนไว้นี้ เพื่อให้นกได้กระโดดไปมาออกกำลังกาย และเพื่อให้นกร้อง จนถึงตอนบ่าย จึงจะเก็บนกไว้ในที่ร่มต่อไป ถ้าเป็นลูกนกและนกหนุ่ม ค่อย ๆ เพิ่มเวลาแขวนตากแดดวันละ 1 ชั่วโมง เป็นวันละ 2 ชั่วโมง และตากแดดไว้นานขึ้นจนนกเคยชิน เพราะเวลานำนกกรงหัวจุกเข้าประกวดแข่งขันต้องใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง กว่าจะประกวดเสร็จ เพราะนกต้องตากแดดตลอดเวลาการประกวด

ควรเก็บนกไว้ในที่ร่ม
        หลังจากให้นกตากแดดตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงตอนบ่าย ก็ให้เก็บนกและกรงนกไว้ในที่ร่ม ให้ทำความสะอาดกรง และอื่นๆ ดังนี้

  1. ทำความสะอาดกรงนก โดยเปลี่ยนตัวนกกรงหัวจุกไปไว้กรงอื่นเป็นการสอนนกไม่ให้เลือกกรงและเคยชินต่อการเปลี่ยนกรง จากนั้นก็ให้ทำความสะอาดกรงนกที่เห็นว่าสกปรก ถ้ากรงนกสะอาดดีแล้วก็ไม่ต้องทำความสะอาด

  2. ทำความสะอาดตะขอที่เกี่ยวอาหาร
  3. ทำความสะอาดถ้วยใส่น้ำ
  4. ทำความสะอาดถ้วยใส่อาหารเม็ด
  5. ล้างถาดรองขี้นกใต้กรง
  6. ให้อาหารและน้ำนกเหมือนเดิม
  7. ให้นกอาบน้ำ เมื่อนำนกไปเก็บไว้ในที่ร่ม ก็ให้นำกล่องพลาสติกหรือขันอาบน้ำใส่ไว้ในกรง ใส่น้ำลงไป นกก็จะอาบน้ำเอง ถ้านก ตัวไหนไม่ชอบอาบน้ำ ก็จะใช้ขวดแบบสเปรย์ฉีดน้ำเป็นฝอยให้ทั่วตัวนก จากนั้นนกก็จะเคยชินและอาบน้ำเองได้ เมื่อนกอาบน้ำเสร็จก็จะไซร้ขน เพื่อทำให้ขนสะอาดและแห้งไม่คันตัว แล้วก็เทน้ำที่ขันอาบน้ำนกทิ้งไป แล้วคว่ำขันลง ทิ้งขันอาบน้ำนี้ไว้ในกรง นกเมื่อได้อาบน้ำแล้วจะมีความสุข มีอารมณ์ดีแจ่มใส และร้องเพลงได้ดีเหมือนคนคือถ้าได้อาบน้ำก็จะรู้สึกสบายตัว
  8. ให้นำนกไปแขวนไว้ที่ชายคาบ้าน หรือราว หรือกิ่งไม้ไว้เหมือนเดิม ในช่วงเวลาประมาณ 15.00-16.00 น. ซึ่งจะเป็นแดดอ่อน ๆ ไม่แรงมากนัก ให้นกได้ตากแดดในช่วงเข้าและช่วงเย็น เพราะแสดงแดดมีวิตามินดีทำให้กระดูกของนกแข็งแรง และเพื่อให้นกขนแห้งสนิทเมื่อได้ตากแดดขนก็จะฟูสวยงามเป็นเงาและไม่คันตัว กรงนกก็จะแห้งและไม่ขึ้นรา อายุการใช้งานของกรงก็นานขึ้น
 9. หลังจาก 16.00 น. ในช่วงใกล้ค่ำ ให้เก็บนกเข้าบ้าน ปิดผ้าคลุมกรงนกจะได้หลับพักผ่อน เวลานกนอนจะชอบความสงบ ไม่ชอบให้มีเสียงรบกวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น