วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กฎหมายเกี่ยวกับนก


กฏหมายเกี่ยวกับนก ตามพระ ราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนก
กฏหมายเกี่ยวกับนก ตามพระ ราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่องการประกวดแข่งขันนกปรอดหัวโขน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยอธิบดีกรมป่าไม้ที่ระบุว่า "ผู้ ใดจะนำสัตว์ป่าคุ้มครอง ชนิดนกปรอดหัวโขน หรือสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าประกวดแข่งขัน จะต้องนำเอกสารการแจ้งการครอบครองตามมาตรา 66 หรือ 67 ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 และต้องนำเอกสารดังกล่าวติดตัวสัตว์ป่าไปด้วยทุกครั้ง และผู้ที่นำสัตว์ป่าไปเข้าประกวดแข่งขันจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสาร ดังกล่าวข้างต้น หรือผู้เข้าประกวดนำสัตว์ป่าคุ้มครองอื่นไปแข่งขัน หรือมีการตกลงกันซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองภายในสถานที่ประกวด จะมีความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"



วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สำนวนเพลงร้อง และรูปแบบน้ำเสียงของนกกรงหัวจุก

สำนวนเพลงร้อง และรูปแบบน้ำเสียงของนกกรงหัวจุก(แบบฉบับวิชาการ) 

มาลองอ่านเพื่อประดับความรู้กันครับ......... 

สำนวนเพลงร้อง แบ่งออกตามจำนวนพยางค์ได้ดังนี้ 

1.สำนวนสั้น(เพลงสั้น)อาจฟังไม่ไพเราะเท่าที่ควรเพราะเป็นเพลงสั้น 3-4 พยางค์ เช่น ฟิก-ฟี-เลี่ยว , ฉกฟิกฟีเลี่ยว , ฟิก-ฟี-กว่อ . ฟิก-ไกว๋-หย่อ 

2.สำนวนกลาง(เพลงกลาง) ฟังไพเราะเสนาะหูกว่าสำนวนสั้น เพราะเป็นเพลง 5-6 พยางค์ เช่น ฉก-ฟิก-ฟอ-ฟี้-เลี่ยว , ฉก-ฟิก-กว๋อ-ไกว๊-หย่อ . ฟิก-ฉก-ฟิก-ฟี-เลี่ยว . ฟิก-ฉก-ฟิก-ไกว๊-หย่อ 

3.สำนวนยาว(เพลงยาว) ฟังไพเราะมาก เพราะร้องได้ถึง 7-9 พยางค์ ปัจจุบันจะหาฟังได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะนกที่ร้องเพลงยาว 7-9 พยางค์ และมีน้ำเสียงดีด้วยแล้ว ยิ่งหาฟังได้ยากยิ่งจริงๆ เช่น ฉก-ฟิก-ฟอ-ฟี้-เลี่ยว-ฉก-ฟิก-ฟอ-ฟี้-เลี้ยว , ฟิก-ฉก-ฟิก-ฟอ-ลิ-ติ-กว่อ ,ฟิก-ฉก-ฟิก-ฟอ-ลิก-ฟี้-เลี่ยว , ฟิก-ฟิก-ฝก-ฟิก-กวอ-ลิ-ติ-กว่อ , ฉก-ฟิก-กวอ-ลิก-ไกว๊-หย่อ , ฉก-ฉก-ฟิก-กวอ-ลิก-ฉก-ฟิก-ไกว๊-หย่อ 

***นอกเหนือจากสำนวนเพลงทั้ง 3 แบบก็มีการร้องเล่นๆ เช่น ควิก-ควิก , ฟิต-เฟี่ยว , ฉก-ฉก , ปิ๊ด-ปิ๊ด , ฉก-ฟิก ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการร้องที่มีการนับสำนวนไม่เป็นเพลง ไม่มีเสียงสูง-ต่ำ และในแต่ละคำไม่ถึง 3 พยางค์*** 

รูปแบบน้ำเสียง แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 

1.เสียงเล็ก โดยทั่วๆไป รูปร่างของนกมักเป็นตัวเล็ก ช่วงสั้นมีลีลาคล่องแคล่ว กระโดโลดเต้นตลอดเวลา ร้องมาก เพลงสั้นๆ และไม่ค่อยมีเว้นวรรค แต่ละพยางค์ร้องติดๆกัน ฟังไม่ค่อยชัดเจน ไม่เน้นจังหวะต้นปลาย เช่น ฟิก-ฉก-ฟิก-ติ-เปี๊ยว 

2.เสียงกลาง เป็นเสียงร้องของนกกรงหัวจุกส่วนมากในปัจจุบัน ซึ่งมีเสียงกลางเต็ม กลางไม่เต็ม แยกไปอีกชั้นหนึ่งสำหรับผู้ฟังเสียงนกเป็นแล้ว แต่ปกติโดยรวมจะเรียกเป็นนกเสียงกลาง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเพลงที่ร้องด้วย มักจะเน้นต้น กลาง และปลาย ให้ชัดเจนกว่าคำอื่น ฟังดูกลมกลืน น้ำเสียงม่แหบเครือ เช่น ฉก-ฟิก-ฟอ-ฟี้-เลี่ยว , ฉก-ฟิก-กวอ-ลิ-ติ-กว่อ 

3.เสียงใหญ่ ปัจจุบันที่มีน้ำเสียงแบบนี้หาได้ยากมาก ที่เคยพบเห็นมักเป็นลำตัวช่วงยาว หน้าอกใหญ่ ลำคอพองใหญ่ ศีรษะและใบหน้าใหญ่ รูปร่างสง่างาม 

***เพลงที่ร้องมักเป็นเพลงยาว มีการเน้นจังหวะปลายดีมาก ฟิก-ฉก-ฟิก-กวอ-ลิก-ติ-กว่อ , ฉก-ฟิก-กวอ-ลิก-ไกว๊-หย่อ , ฉก-ฉก-ฟิก-ฟอ-ฟี้-เหลี่ยว จังหวะต้นธรรมดา เมื่อร้องคำปลายน้ำเสียงมักจะต่ำ ห้าว ทุ้ม เสียงก้องกังวาน เปล่งออกจากลำคอโดยตรง
 


ที่มา : หนังสือคัมภีร์การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ นกกรงหัวจุก
 

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กรงของนกกรงหัวจุก

แบบกรงของนกกรงหัวจุก
กรงของนกกรงหัวจุก มีการทำออกมาจำหน่ายมีหลายแบบ เป็นแบบทั่วๆไป แบบสั่งทำปกติ, แบบสั่งทำเป็นพิเศษ ซึ่งแบบสั่งทำนี้จะมีความละเอียด ประณีต ความสวยงามเป็นพิเศษ ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำกรง ลวดลาย แล้วแต่ผู้สั่งทำกรงจะเป็นผู้กำหนด หรือช่างทำกรงเป็นผู้คิดเป็นผู้ออกแบบเอง ส่วนกรงนกกรงหัวจุกแบบทั่วๆ ไป หรือแบบธรรมดาจะมีวางขายตามร้านวัสดุอุปกรณ์ของนกทั่วไป แบบกรงและขนาดของกรง เท่าที่ราวบรวมได้มีดังนี้
1. ความสูงของกรงจากคานล่าง ถึงคานบนสูงประมาณ 18.5 นิ้ว
2. คานล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีคานล่างกว้างประมาณ 14.5 นิ้ว
3. คานบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า แต่เล็กกว่า คานล่างกว้างประมาณ 11.5 นิ้ว
1. ชนิดที่ใช้หวายเป็นหลัก จะมีขนาดของกรงโดยมีความสูงประมาณ 17 นิ้ว และความกว้างของกรมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 14.5 นิ้ว
2. ชนิดที่ใช้ลวดตาข่ายเป็นหลัก จะมีขนาดของกรงโดยมีความสูงประมาณ 20 นิ้ว ความกว้างของกรง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 13.5 นิ้ว อาจจะมีกรงที่มีความสูงน้อยกว่านี้ก็ได้
กรงแบบสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่ด้านบนของกรงทำเป็นหลังคาทรงไทย โดยมีความสูง ความกว้างของคานด้านบนและคานด้านล่างเท่าๆ กับแบบสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่ที่หัวกรงเป็นรูปโค้งเหมือนหลังคาทรงไท


การเลี้ยงนกกรงหัวจุก มีกรงที่ใช้เลี้ยงอยู่หลายประเภท ซึ่งก็แบ่งได้ดังนี้

1. กรงที่ใช้เลี้ยงนกกรงหัวจุกทั่วๆไป จะเป็นกรงแบบสี่เหลี่ยมแบบธรรมดาแบบหลังคาโค้ง
2. กรงสำหรับใส่นกเพื่อนำไปประกวดแข่งขัน อาจเป็นกรงที่เลี้ยงอยู่ทุกวันก็ได้ หรือเป็นกรงที่ผู้เลี้ยงทำไว้เฉพาะเวลานำนกกรงหัวจุกไปประกวดแข่งขัน จะเป็นกรงที่มีความละเอียด มีความประณีต และลาดลายแกะสลักสวยงามเป็นพิเศษ
3. กรงสำหรับใส่นกกรงหัวจุกเวลานกผลัดขน ส่วนมากจะนิยมทรงสี่เหลี่ยมแบบธรรมดา แต่กรงจะมีความกว้างและใหญ่กว่ากรงธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งกรงจะมีความสูงประมาณ 30 นิ้ว คานล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีความกว้างประมาณ 25 นิ้ว คานบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีความกว้างประมาณ 20 นิ้ว ที่ทำกรงให้ใหญ่กว่าการเลี้ยงธรรมดา ก็เพราะต้องการให้นกกรงหัวจุกอยู่สบาย กระโดดไปมาได้ไกล เป็นการให้นกได้ออกกำลัง ผลัดขนได้เร็ว
4. กรงพักนก เป็นกรงที่ทำให้มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้น กรงมีความกว้างประมาณ 1 เมตรขึ้นไป มีความยาวประมาณ 2 เมตรขึ้นไป ความสูงประมาณ 1.5-2.1 เมตร โดยมีขากรงสูงประมาณ 50 เซนติเมตร - 1 เมตร ใช้ตาข่ายสีฟ้าหรือลวดตาข่ายปิดล้อมกรงทั้ง 6 ด้าน มีประตูปิดเปิด 1 ด้าน ในกรงมีที่ให้นกเกาะ มีน้ำและอาหารเตรียมไว้ให้ การทำกรงพักใหญ่ เพื่อให้นกได้บินออกกำลังนกก็จะแข็งแรงขึ้น นกเคยอยู่ในกรงเล็ก เมื่อมาอยู่ในกรงใหญ่จะสะดวกสบาย สามารถบิน กระโดดออกกำลังได้เต็มที่
ถ้าเป็นกรงของนกกรงหัวจุกที่มีราคาแพง จะใช้ไม้ที่มีเนื้อแข็งมาทำเสา ทำคาน ทำลาดลาย ถ้าเป็นกรงนกกรงหัวจุกแบบธรรมดา ก็จะใช้ไม้เนิ้ออ่อนทั่วๆไป ดังนี้
1. ไม้ที่นำมาทำกรงนกที่มีราคาแพง ไม้บางชนิดก็หายาก ได้แก่
1.1 ไม้มะม่วง
1.2 ไม้สาวดำ
1.3 ไม่ประดู่
1.4 ไม้ประดู่ชิงชัน
1.5 ไม่มะเกลือ
1.6 ไม้หลุ่มพลอ
1.7 ไม้ตะเคียน
1.8 ไม้สัก
2. ไม้ที่นำมาทำกรงนกกรงหัวจุกที่มีราคาถูก ได้แก่
2.1 ไม้ยางพารา
2.2 ไม้สะเดา
2.3 ไม้ขนุน
2.4 ไม้อื่นๆ
3. ไม้ที่นำมาทำซี่ลูกกรง ได้แก่ ไม้ไผ่สีสุก ไม้ไผ่ลำละลอก ไม้ไผ่ตง และไม้ไผ่อื่นๆ แต่ไม้ไผ่ที่ดีที่สุดคือ ไม้ไผ่สีสุก และไม้ไผ่ลำละลอก ซึ่งแพงและหายาก
สำหรับไม้ไผ่ที่จะนำมาทำซี่กรงนั้น ถ้าจะให้ทนทาน แข็งแรงและอยู่ได้นาน วิธีการทำให้นำไม้ไผ่ที่แก่จัดจริงๆ ถ้าเอาไม้ไผ่อ่อน เนื้อจะไม่เหนียว เมื่อนำมาดัดจะหักได้ง่าย โดยนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำทะเลนานประมาณ 2-3 เดือน ก่อนจะผ่ามาเหลา จากนั้นก็ขั้นมาจากน้ำทะเล มาไว้ในที่ร่ม เพื่อให้น้ำทะเลที่อยู่ในเนื้อไม้ไผ่ระเหยออกไปประมาณ 2-3 เดือนก่อน จะทำให้เนื้อไม้ไผ่เหนียว มอดไม่กิน เวลาเหลาไม้ไผ่เนื้อจะสวยสดคงที่


กรงของนกกรงหัวจุกมีทั้งแบบทำจำหน่ายทั่วๆไป และแบบสั่งทำ สำหรับราคาของกรง ก็ขึ้นอยู่กับชนิดไม้ ฝีมือ ลวดลาย ความละเอียดอ่อน ความประณีต เพราะต้องใช้เวลามาก รวมทั้งวัสดุที่ใช้ประกอบในการทำกรงด้วย ซึ่งราคากรงของนกกรงหัวจุก มีดังนี้

1. กรงนกกรงหัวจุกราคาแพง จะเป็นกรงที่สั่งทำ จากการสอบถามคุณกอแด แวโน๊ะ อายุ 40 ปี ช่างทำกรงนก ที่สั่งทำจะมีราคาตั้งแต่หลายพันบาท ไปจนถึงหลักแสนบาท และสอบถามนายเจ๊ะอาแม เจ๊ะมามุ อายุ 67 ปี เป็นช่างทำกรงนกกรงหัวจุก จังหวัดปัตตานี เป็นผู้ที่ทำกรงนก โดยใช้มือทำทุกชิ้น มีความละเอียดประณีต และลวดลายมาก ที่เคยทำขาย มีราคาขายได้สูงสุดถึงกรงละ 120,000 บาท ซึ่งตัวกรงจะใช้ไม้มะม่วงป่า ฝาปิดเปิดกรงทำด้วยงาช้าง หัวกรงและตะขอแขวนกรงทำด้วยนาค, ตะขอแขวนผลไม้ทำด้วยนาค ตัวแป้นทำด้วยงาช้าง สำหรับไม้ที่ทำคานบนและคานล่าง แกะสลักคอนเกาะ แกะสลักเป็นลวดลายอย่างสวยงามยิ่ง ผุ้สั่งทำคือ คุณกิต กิติศักดิ์เจียรนัย เจ้าของแพปลาจังหวัดปัตตานี 2. กรงนกกรงหัวจุกที่มีราคมถูก ส่วนใหญ่เป็นกรงแบบสี่เหลี่ยมธรรมดา แบบทรงกลม แบบสุ่มไก่ ไม่ค่อยมีลวดลายหรือความประณีตมีขายตามร้านขายกรงและอุปกรณ์นกทั่วๆไป ใช้ไม้ยางพารา และไม้อื่นๆ มาทำกรง มีตั้งแต่หลัก 100 บาทขึ้นไป
โครงสร้างหลักๆ ของกรงนกกรงหัวจุก หลักๆ ก็มีดังนี้
1. ขากรง ใช้เสากรงเป็นขาเลยก็ได้ หรือจะมีหัวขากรงเป็นเหล็ก เป็นพลาสติก หรือเป็นไม้
2. คานล่าง เป็นแผ่นไม้ ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นไม้เรียบๆ หรือจะแกะเป็นลวดลาย
3. คานกลาง อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ จะเป็นไม้เรียบๆ หรือแกะสลักให้ดูสวยงามก็ได้
4. คานบนเป็นแผ่นไม้ ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นไม้เรียบๆ หรือแกะสลักก็ได้
5. ซี่กรง จะเป็นไม้ไผ่มาเหลา ให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.3 - 0.4 มิลลิเมตร
6. เสากรง จะเป็นแผ่นไม้แบบเรียบๆ หรือแกะสลักก็ได้
7. หัวกรง จะเป็นหัวที่ยึดกับตัวกรง เป็นหัวกลึง เป็นไม้ เป็นพลาสติก หรือเป็นงาช้าง ถ้าเป็นงาช้างราคาจะแพง
8. ตะขอแขวนกรง ใช้เป็นเหล็ก หรือทองเหลือง มีทั้งแบบทำสำเร็จรูปขาย หรือแบบสั่งทำจากช่างทำทอง

กรงนกหัวจุกแบบปัตตานี จะเป็นกรงนกที่มีความละเอียดอ่อนประณีต มีลาดลายสวยงาม เป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านล่างกรงจะใหญ่ ด้านบนกรงเล็ก มีขนาดของกรงดังนี้
กรงนกกรงหัวจุกแบบนราธิวาส เป็นกรงนกที่มีความละเอียดอ่อน ประณีต มีลาดลายสวยงามเช่นกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านล่างของกรงจะใหญ่ ด้านบนของกรงจะเล็กกว่า โดยมีความสูง ความกว้างของคานบนและคานล่างจะเท่าๆ กับกรงแบบปัตตานี

กรงนกกรงหัวจุกแบบนครศรีธรรมราช เป็นกรงที่มีความละเอียดประณีตและสวยงามเช่นกัน บางกรงจะใช้มุกฝังในเนื้อไม้ แต่กรงนกแบบของนครศรีธรรมราช จะใช้น้ำมันทากรงเป็นสีดำเป็นมันแวววาว ขนาดความสูง ความกว้างของคานบนและคานล่าง ใกล้เคียงกับแบบกรงปัตตานี

กรงนกกรงหัวจุกแบบสิงค์โปร์ มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ด้านบนของกรงจะแหลม ลักษณะเป็นทรงโปร่งๆ โดยฐานของกรงจะใหญ่ด้านบนจะเล็กเรียว

กรงนกกรงหัวจุกทรงกลมแบบถังเบียร์ มีลักษณะด้านบนของกรงและด้านล่างของกรงตัดเรียบตรง ตรงกลางป่องเหมือนถังเบียรื ไม่มีลาดลาย วัสดุจะใช้หวายเป็นโครง ขนาดของกรงมีความสูงประมาณ 18 นิ้ว มีเส้นผ่าศูนย์กลางด้านบนและด้านล่างประมาณ 12 นิ้ว มีเส้นผ่าศูนย์กลางตรงกลางกรงในส่วนที่ป่องออกมา มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 นิ้ว

กรงนกหัวจุกทรบแบบสุ่มไก่ มีลักษณะคล้ายสุ่มไก่แบบย่อส่วนลง โดยด้านบนกรงจะโค้งลงมา ด้านล่างกรงตัดเรียบไม่มีลาดลายอะไรมีหวายเป็นโครง กรงแบบสุ่มไก่นี้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
กรงนกหัวจุกแบบทรงหกเหลี่ยม  ลักษณะของกรงจะมีเสา 6 เสา เป็นกรงที่มีความละเอียดและประณีต มีลวดลายต่างๆ เช่น ลายมังกรและลายอื่นๆ ประกอบ ลักษณะความกว้างเท่าๆ กับกรงแบบสุ่มไก่ ด้านบนจะโค้ง ความสูงประมาณ 20 นิ้ว

กรงนกหัวจุกแบบสี่เหลี่ยม รูปทรงเหมือนทรงสี่เหลี่ยมแบบปัตตานี คือด้านล่างกรงจะใหญ่กว่าด้านบน แต่ความละเอียดอ่อนและความประณีตบางแบบจะน้อยกว่า มีดังนี้
กรงแบบทรงสี่เหลี่ยมธรรมดา ด้านคานล่างและด้านคานบนของกรงจะตัดตรง แต่คานด้านล่างกว้างกว่าคานด้านบน กรงแบบนี้มีหลายขนาด ความสูงของกรงจากคานล่างถึงคานบนมีความสูงตั้งแต่ 18-20 นิ้ว คานด้านล่างเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่ามีความกว้างตั้งแต่ 10.5-15 นิ้ว คานด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่ามีความกว้างตั้งแต่ 9-13 นิ้ว

กรงแบบทรงสี่เหลี่ยมดัดแปลง ลักษณะคานด้านล่างจะเล็กกว่าและคานกลางกรงเสมอกัน จากคานกลางกรงจะเริ่มเล็กไปถึงคานด้านบนของกรง ด้านบนสุดของกรงจะทำเป็นรูปโค้ง ซึ่งขนาดของกรง ความสูง ความกว้างของคานด้านล่างและความกว้างของคานด้านบนกรง จะมีขนาดเท่าๆ กับกรงแบบปัตตานี

กรงแบบทรงสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่ที่ด้านบนของกรงจะเป็นรูปโค้งด้านล่างกรงที่เป็นคานล่างจะตัดตรง แต่ด้านบนกรงจะทำรูปได้ มีความสูงของกรงประมาณ 20 นิ้ว คานล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีความกว้างประมาณ 15 นิ้ว คานด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีความกว้างประมาณ 10 นิ้ว

กรงแบบโดมมัสยิด ด้านบนของกรงจะเป็นยอดแหลม ด้านตัวกรงรูปเหมือนโดมดูแล้วเหมือนมัสยิดของศาสนาอิสลาม

กรงที่ใช้เลี้ยงนกกรงหัวจุก
ไม้ที่ทำกรงนกกรงหัวจุก

ราคากรงของนกกรงหัวจุก
โครงสร้างของกรงนกกรงหัวจุก

การฝึกซ้อมนกเพื่อนำเข้าแข่งขัน


หลังจากที่เลี้ยงและฟูมฟักดูแลรักษานกมาเป็นอย่างดีแล้ว ควรเริ่มซ้อม แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดด เมื่อแขวนนกแล้วลองสังเกตว่านกเริ่มสู้แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่สู้ให้ยกนกออกไปจากราวไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปก่อน เพราะหากยังแขวนไว้ จะทำให้นกแพ้และไม่สู้นกตัวอื่นอีกเลย ต้องขยันหิ้วนกไปเที่ยว และต้องซ้อมบ่อยๆ โดยซ้อมสัปดาห์ละ 1-2 วัน ช่วงเวลาการซ้อม หากนกสู้แล้วควรซ้อมตั้งแต่ 9.00 น. - 13.00 น. หากเป็นนกใหม่ซ้อมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความเคยชินกับสนามแล้วจึงแยกออกไปแขวนห่างๆ เพื่อให้นกเกิดความคึกคะนอง ก่อนจะนำนกไปเที่ยวหรือไปสนามซ้อม ต้องใช้ผ้าคลุมกรงนกทุกครั้ง เพื่อให้นกตื่นตกใจน้อยที่สุด ควรเปลี่ยนกรงนกบ่อยๆ เพื่อให้นกคุ้นเคยกับการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ป้องกันการตื่นตกใจกลัว เนื่องจากความไม่ชินกับสภาพกรงที่ผิดแผกไปจากเดิม ทำให้นกมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา ในวันปกติให้แขวนนกแต่ละตัวให้ห่างกัน เพื่อไม่ให้เห็นกัน ให้ได้ยินแค่เสียงร้องก็พอ เพื่อนกจะได้คึกคัก ให้นกอาบน้ำในเวลาบ่ายหรือยามเย็นประมาณ 15.00 น. - 17.00 น. แต่งตัวและตามกขนให้แห้งสนิทก่อนจะเก็บไว้ทุกวัน เพื่อเพิ่มความสวยงามและปลอดโปร่งสบายให้แก่นก เพราะนกกรงไวจุกชอบความสะอาดดูแลความเรียบร้อยของตัวเองอยู่เสมอ ต้องเปลี่ยนน้ำกินและน้ำอาบทุกวัน ล้างถาดรองขี้นกทุกวัน กรงสะอาดจะทำให้นกสดชื่นคึกคัก ให้ลองสังเกตดูว่าหากนกไม่ได้อาบน้ำและไม่ล้างทำความสะอาดหลายๆ วัน นกจะสลัดขนอ่อนบนลำตัวออกและมีอาการซึม ขณะที่แขวนนกตัวที่มีท่าทีว่าจะคึก ให้หมั่นเอานกล่อนกที่ไม่สู้หรือไม่คึกไปเทียบบ่อยๆ ให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้นกมีอาการคึกคักพร้อมจะสู้และสร้างความมั่นใจว่าตัวเองขู่ตัวอื่นได้ นกจะมีความมั่นใจและเก่งมากขึ้น เมื่อนำไปแขวนที่ราวซ้อม นกจะพร้อมต่อสู้กับตัวอื่นตลอดเวลาโดยไม่กลัว เนื่องจากนกมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการเรียนรู้นิสัยของนก เราจึงต้องสังเกตและเอาใจใส่ เพื่อจะได้รู้จักนกของเราอย่างแท้จริง เช่น ชอบกระโดดเกาะหรือชอบวิ่งถ้วย ซึ่งจะมีผลอย่างมากเมื่อนำนกไปแข่ง นกจะพร้อมสู้ตลอดเวลา ไม่เบื่อหน้ากัน ให้ใช้ผ้าคลุมกรงนกเพื่อให้นกพักผ่อนได้เต็มที่ ก่อนถึงวันแข่งขัน 1-2 วัน ให้เปลี่ยนกรงนกที่เป็นกรงแข่งมีลวดลายสวยงาม ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งยังไม่มีนกที่ดีและเก่งพอที่จะเป็นนกครูฝึกได้

คุณสมบัติของนกต้นแบบ
เสียงต้องดี ต้องมีน้ำหนักเสียงที่ดีมากที่สุด คือมีสำนวนการร้องจำนวน 5-7 พยางค์ หรือดีกว่านั้นก็คือ 7-9 พยางค์ ยิ่งได้นกที่ร้องได้หลายพยางค์ นกที่นำมาซ้อมก็จะยิ่งเก่งมากขึ้น นกครูต้องมีนิสัยดี เนื่องจากเป็นนกต้นแบบ หากนกครู แสดงนิสัยที่ไม่ดีให้นกที่เรานำมาซ้อมเห็นนิสัย เช่ย การจิกทำร้ายตัวเอง จิกขา จิกขน จิกหาง เป็นต้น นกของเราก็จะรับเอานิสัยที่ไม่ดีนั้นมาด้วย
เพลงดี นกครูที่ดีต้องร้องเพลงได้หลายทำนอง ไม่ว่าจะเป็นเพลงยาวหรือสั้น การริก เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ถ้าหากนกครูชอบเพลงที่ไม่ได้ทำให้คะแนนการร้องเพลง เช่น การร้องเพลงยาว แต่เป็นฟ้อนไม่ได้ศัพท์หรือเพลงเร็ว เป็นต้น

การฝึก
การฝึกนกกรงหัวจุกในระยะเริ่มต้นไม่ต้องซ้อมหนักจนเกินไป ระยะการซ้อม วันแรก ให้ซ้อมวันละไม่เกิน ชั่วโมง พอครบสัปดาห์ก็เพิ่มเป็นวันละ ชั่วโมง และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อยู่อย่างนี้ประมาณ เดือน นกที่นำมาซ้อมจะเรียนรู้จากนกครูได้พอสมควร พอย่างเข้าเดือนที่ และ เราจะสังเกตเห็นว่านกตัวไหนมีลักษณะเป็นอย่างไร มีวิวัฒนาการไปแค่ไหน เช่น หากมีการฝึกซ้อมนกนอกสถานที่ ผู้เลี้ยงก็นำนกที่ฝึกมาไปเลี้ยงด้วย นกตัวดังกล่าวไม่มีลีลาของนกแข่งเลย ไม่ร้อง ไม่สู้ เอาแต่เกาะคอนนิ่ง แสดงว่านกตัวนั้นใช้ไม่ได้ แต่ถ้าหากนกามีอาการสู้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปอีกระดับหนึ่ง
นกที่ลงฝึกซ้อมได้ เดือน ผู้เลี้ยงจะมองลักษณะของนกออกนกที่มีลักษณะดีก็เอาไว้เลี้ยงต่อ แต่ถ้าใช้ไม่ได้ก็คัดออก ในระยะที่สอนนี้เป็นการพิสูจน์ตัวเองของนกว่ามีความสามารถที่จะเรียนรู้จากนกครูได้มากน้อยเพียงใด โดยวิธีทดสอบอยู่หลายวิธี วิธีที่นิยมมากที่สุดคือ การนำนกขึ้นซ้อมแข่ง แล้วดูการยืนระยะของนกว่ายืนได้นานเท่าไหร่ และมีลักษณะการยืนอย่างไร ยืนแบบหัวหด หรือยืนแบบอกผายไหล่ผึ่ง เป็นการข่มคู่ต่อสู้ โดยการยืนระยะของนกนั้น ผู้เลี้ยงต้องสังเกตหรือจับเวลาขณะที่นำไปซ้อม โดย ยก จะใช้เวลาประมาณ 25 นาที สังเกตอยู่ประมาณ ยก ถ้าหากนกของผู้เลี้ยงที่นำมาซ้อมนั้น สามารถนำมาซ้อมนกตัวอื่นด้วยการแสดงลีลาประกอบกับการใช้เสียงร้องในการต่อสู้กับนกตัวอื่นได้ประมาณ ใน ยก ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ถ้าจะให้ดีการทดสอบการยืนระยะของนกควรเปลี่ยนราวให้นกได้ต่อสู้กับนกตัวอื่นๆ บ้าง เพื่อที่นำจะได้เรียนรู้หลายสถานการณ์ และการเปลี่ยนหน้าคู่ต่อสู้ ป้องกันไม่ให้นกเกิดอาการเบื่อหน่าย ถ้าหากมีการเปลี่ยนที่แขวนนกจะได้เจอคู่ต่อสู้ใหม่ๆ แล้วถ้ายังมีลีลา การยืน การบิน กางปีก กางหางส่งเสียงร้องอยู่อย่างเดิม ก็แสดงว่านกตัวดังกล่าวอยู่ในที่พร้อมที่จะถูกส่งลงสนามได้แล้ว ในระยะที่สาม หลังจากที่นกกรงหัวจุกได้ผ่านมาถึง ระยะแล้ว ในระยะนี้ก็เหมือนกับนักศึกษาที่เรียนปี แล้ว พร้อมที่จะลงสนามสอบแข่งขันกับนักศึกษาสถานบันอื่นๆ หรือยัง การฝึกซ้อมในระยะนี้เป็นการฝึกให้นกมีความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจให้เป็นนักสู้ร้อยเปอร์เซ็นต์

ลักษณะของนกที่พร้อมจะแข่งขัน
แววตาสดใสไม่ขุ่นมัว ไม่เซื่องซึม ขนไม่ร่วง
กินจุ ถ้าเป็นอาหารโปรดจะกินหมดทุกครั้งที่ให้
เห็นคู่ต่อสู้แล้วแสดงอาการคึกคักอยากเข้าไปต่อสู้ กางปีก กางหาง ส่งเสียงร้องขู่คู่ต่อสู้
ขนมันวาว โดยเฉพาะบริเวณแก้ม จุก ปลายขนไม่แตก โดยเฉพาะขนหางและขนปีก
มีระบบขับถ่ายที่สมบูรณ์ มูลจะไม่เหลวหรือแน่นเกินไป 
ชอบอาบน้ำ ดูแลร่างกาย รักสวยรักงาม

สาเหตุของนกไม่สู้
นกอายุยังน้อย ยังอ่อนหัดอยู่
ไปเจอนกที่ดุในสนามแข่งขัน ทำให้กลัวและเข็ดไปในที่สุด
ร่างกายไม่สมบูรณ์
ไม่ชินกับเสียงเชียร์ทีดังในสนามแข่ง
เป็นนิสัยของนกเอง แก้ไขไม่ได้

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่ชอบเลี้ยงนกแต่ไม่ค่อยมีเวลา
ในตอนเช้าก่อนไปทำงาน เปิดผ้าคุม ชำระขี้นกจากถาดรองให้สะอาด
ให้อาการโดยให้ผลไม้อย่างน้อย ชนิด รวมทั้งหนอน โดยเทรวมกันไว้ที่เดียวกัน
นำนกไปแขวนไว้ในที่มีแสงแดดประมาณ 7.00 น.-11.00 น. จากนั้นก็ร่ม โดยการสังเกตุสถานที่และทิศทางของแสงหลังจากเลิกงานก็กลับมาดูแลนก หมั่นหยอกล้อมัน เท่านี้ก็สามารถเลี้ยงนกได้ แม้จะมีเวลาน้อยก็ตาม

การเตรียมตกก่อนเข้าแข่งขัน



การประกวดแข่งขันนกกรงหัวจุกในประเทศไทย ได้จัดให้มีการประกวดในครั้งแรกที่จังหวัดสงขลา ประมาณปี 2519 ต่อมาก็มีผู้นิยมเลี้ยงนกกรงหัวจุกไปแทบทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งมีการประกวดแข่งขันตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน จนถึงระดับประเทศ และกลายเป็นวิธีชีวิตที่ผูกพันกับคนไทย เหตุที่นกกรงหัวจุกเป็นทีนิยมเลี้ยง ก็เพราะนกกรงหัวจุกมีเสน่ห์ ดังนี้

- มีรูปทรงสวยงาม จุกที่หัวเป็นจุดเด่น มีขนสีแต่งแต้มดูแล้วสวยงามดี เช่น จุดสีแดงที่ใต้ตา สีขาวที่แก้ม สีแดงส้มที่โคนหางด้านใน มีขนหน้าอกสีขาวเป็นปุยเหมือนสำลี
- มีรูปร่างกะทัดรัดสมส่วน เป็นนกขนาดไม่เล็กและใหญ่จนเกินไป
- มีท่าที ลีลา การกระโดดดูแล้วสวยงาม
- มีน้ำเสียงดี เสียงหวานก้องและกังวาน ได้ฟังแล้วเพลิดเพลินดีเหมือนคนชอบร้องเพลง และฟังเพลง
- สำนวนที่ร้องดี สามารถร้องเป็นเพลง ในแบบของนกได้
- มีเสียงร้อง รก ซึ่งเป็นเสียงร้องขู่ หรือข่มขวัญคู่ต่อสู้ ซึ่งเป็นช่วงที่นกมีความคึกคักที่สุด
นอกจากมีการประชันเสียงแล้ว ผู้ส่งเข้าประกวดนกกรงหัวจุก ก็ยังมีการประชันความสวยงามของกรงนก และผ้าคลุมกรงนกสวยงามมีหลากสีสัน ดูว่าของใครจะสวยกว่า สำหรับการประกวดแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุก 

การเตรียมนก,มารยาทผู้ส่งนก,และประโยชน์ของการเลี้ยงนก
การเตรียมนกก่อนแข่งขัน มีดังนี้
1.การเตรียมอาหารและเตรียมน้ำให้มาก เพราะนกขาดน้ำ เสียงนกจะแหบ รวมทั้งเตรียมน้ำสำรองในเวลาพักนกด้วย
2.การเตรียมกรงที่จะใส่นกกรงหัวจุกเข้าประกวด โดยเปลี่ยนกรงก่อนสัก 3-4 วัน เพื่อให้นกเคยชินกับกรง
3.การฝึกสอนนกให้บ่อยมากยิ่งขึ้น
4.การบำรุงให้นกเสียงดี และร้องได้นาน
มารยาทของผู้ส่งนกเข้าแข่งขัน มีดังนี้
1.ควรส่งนกกรงหัวจุกก่อนจะมีการแข่งขันอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
2.ควรอยู่นอกเขตเชือกกั้น ไม่ควรเข้าไปในเขตเชือกกั้น เพราะจะทำให้นกตื่นตกใจและไม่ร้อง
3.การเชียร์นกให้ร้อง อย่าใช้วัสดุ เช่น เสื้อ ผ้าคลุมกรงโบกสะบัด เพื่อเชียร์ให้นกร้อง เพราะนกตัวอื่นๆ อาจจะตกใจและไม่ร้อง รวมทั้งการส่งเสียงร้องเชียร์นกดังเกินไป นกอื่นอาจจะตกใจและไม่ร้องได้เช่นกัน สำหรับการประกวดแข่งขันประชันเสียงนกกรงหัวจุก จะเริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์-เดือนตุลาคมของทุกปี เพราะช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.-ม.ค. ทางภาคใต้จะเป็นช่วงฝนตก นกกรงหัวจุกจะไม่ค่อยร้องแต่ถ้ามีแดดนกกรงหัวจุกจะร้องดี

ประโยชน์ของการเลี้ยงนกกรงหัวจุก
1.จะเป็นการให้พวกวัยรุ่นลดละเลิก ในเรื่องติดยาเสพติด เพราะจะมาสนใจเลี้ยงนกกรงหัวจุก
2.เป็นการพักผ่อน คลายเครียด เพลิดเพลินใจ เหมือนกับฟังเสียงร้องของนกเป็นเสียงดนตรีธรรมชาติ หรืออยู่ในธรรมชาติ
3.เป็นการสร้างความภูมิใจให้แก่ผู้เลี้ยงที่ได้รับรางวัล
4.เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะที่ชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก มีการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนคามคิดเห็นกัน
5.เป็นการสร้างรายได้ และการกระจายรายได้ไปให้แก่คนหลายอาชีพ
6.เป็นประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีของท้องถิ่น
7.หากมีการเพาะพันธุ์จำหน่ายก็จะกลายเป็นสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ได้

การฝึกสอนนกให้ร้องเพลงอย่างถูกวิธี

การฝึกสอนนกให้ร้องเป็นเพลง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก เพราะเป็นหัวใจที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก คือต้องการให้นกกรงหัวจุกร้องได้เป็นเพลงตามที่ผุ้เลี้ยงต้องการ เพื่อจะได้นำนกกรงหัวจุกไปเข้าแข่งขันเสียงให้ได้รับชัยชนะกลับมา และนกที่ได้รับรางวัลก็จะเป็นนกที่มีคุณค่า และมีราคา เป็นที่ชื่นชอบของผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกทั่วไป การที่นกกรงหัวจุกจะร้องได้ดีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ

1.ตัวของนกกรงหัวจุกเอง 50% ว่าตัวนกมีความพร้อมหรือไม่ในด้านร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีจิตใจเบิกบานและร่าเริง อารมณ์แจ่มใส
2.การฝึกสอนนกอย่างมีเทคนิคและวิธีการต่างๆ 50%
สำหรับการฝึกสอนนกกรงหัวจุก จากการเลี้ยงและจากการไปคลุกคลีกับผู้เลี้ยงนกแต่ละคนก็มีเทคนิคและวิธีการต่างๆ กันดังนี้

1.ให้นำนกกรงหัวจุกไปแขวนไว้ที่หน้าบ้าน หรือร้านขายน้ำชากาแฟในตอนเช้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกนกไม่ให้ตื่นและกลัว นกกรงหัวจุกจะได้คุ้นเคยกับคนแปลกหน้า หรือเสียงพูดคุยกัน เสียงรถต่างๆ ที่ผ่านไปมาบนถนน เพราะโดยปกติแล้ว นกทุกชนิดมีสัญชาตญาณในการระแวง ถ้าหากไม่ฝึกให้คุ้นเคย และเวลาส่งนกกรงหัวจุกเข้าประกวดในสนามแข่งขัน ก็จะพบคนแปลกหน้า และมีเสียงรถ เสียงคนพูดคุยกัน เสียงคนเชียร์นกเวลากรรมการตัดสิน จะทำให้นกมีความเคยชินไม่มีการตื่นเต้นตกใจ

2.การนำนกกรงหัวจุกมาแขวนตากแดดในช่วงเช้าและช่วงบ่ายไว้หน้าบ้าน หรือชายคาบ้าน หรือกิ่งไม้ข้างบ้าน ราวเหล็ก เสาเหล็ก ที่ทำขึ้นสำหรับแขวนนกกรง ซึ่งก็มีวิธีการ ดังนี้

2.1 กรณีเป็นนกที่เพิ่งเลี้ยงและยังไม่เคยเข้าแข่งขัน ก็ให้นำนกใส่กรงไปตากแดดในตอนเช้าตามปกติประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้นกเคยชินกับแดด และร้องตามปกตินกจะหลบแดดเมื่อแดดร้อนเข้าไปในร่ม วันต่อๆมาก็เพิ่มชั่วโมง ฝึกให้นกร้อง เพราะเวลานำนกกรงหัวจุกเข้าประกวดแข่งขัน นกจะต้องตากแดดอยู่หลายชั่วโมง และแสงแดดมีวิตามินดี ทำให้กระดูกแข็งแรงและขนนกเป็นมัน เพราะขนนกก็มีแคลเซียมประกอบอยู่ด้วย
2.2 กรณีการฝึกนกที่จะเข้าประกวดแข่งขัน ในการแข่งขันจะเริ่มประกวดแข่งขันนกกรงหัวจุกในเวลา 10.00 - 13.00 น. ขึ้นไป ซึ่งก็แล้วแต่จะมีนกส่งเข้าประกวดมากน้อยเท่าไหร่ ถ้ามีนกเข้าประกวดมาก ก็ต้องใช้เวลามากกว่านี้ และไม่มีการเอานกกรงหัวจุกไว้ในที่ร่มขณะเข้าแข่งขัน เพราะฉะนั้น การฝึกนกกรงหัวจุกให้เป็นนกที่ทนแดดและความร้อนได้ดี ผุ้เลี้ยงจึงต้องนำนกกรงหัวจุกไปแขวนตากแดดตั้งแต่เวลาประมาณ 08.30 - 13.00 น. ขึ้นไป ขณะที่ให้นกตากแดด ก็ต้องฝึกสอนให้นกร้องเพลงด้วย ให้ทำเหมือนกับการประกวดจริงๆ จากนั้นก็ให้นำนกมาไว้ในที่ร่มเพื่อพักผ่อน พอเวลา 15.00  - 16.00 น. ก็ให้นำนกใส่กรงไปแขวนไว้เหมือนเดิมเช่นในตอนเช้า

3.การฝึกนกให้เลียนเสียงร้องของนกที่เคยได้รับรางวัล ปกตินกกรงหัวจุกเป็นนกที่จำเสียงได้ดี ให้นำนกกรงหัวจุกที่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขัน มาแขวนไว้ใกล้กับนกกรงหัวจุกที่ต้องการฝึก แต่อย่าให้อยู่ใกล้นัก เพราะนกใหญ่กว่าจะข่มขู่นกที่เล็กกว่า ควรให้อยู่ห่างพอสมควร ให้นกกรงหัวจุกตัวที่ได้รับรางวัลร้องให้ฟัง นกที่เราต้องการฝึกก็จะจดจำ ปกตินกกรงหัวจุกจะจดจำเสียงได้ โดยเฉพาะเสียงเจ้าของนกและผู้เลี้ยงก็ต้องกระตุ้นให้นกที่ฝึกร้องตามด้วย เมื่อได้ฟังนก่กรงหัวจุกต้นแบบร้อง ต่อไปนกที่ฝึกก็อาจจะร้องตาม และจะมีเสียงร้องได้ชัด เหมือนนกกรงหัวจุกต้นแบบที่ผุ้เลี้ยงนำมาให้ฝึก

4.การซื้อม้วนเทปร้องของนกกรงหัวจุกทีร้องได้รับรางวัลมาฝึกโดยผู้เลี้ยงไปซื่อตลับเทปตามร้านอุปกรณ์ขายนกมาฝึก ซึ่งในตลับเทปจะอัดเสียงนกกรงหัวจุกที่ได้รับรางวัล ผุ้เลี้ยงก็นำมาเปิดให้นกที่ฝักฟ้งในช่วงที่นำนกไปตากแดด นกที่ฝึกก็จะจำและร้องเลียนเสียงนกที่ได้รับรางวัลเหมือนกับคนเราไปซื้อเทปของนักร้องที่เราชอบมาเปิดเทปฟัง แล้วเราก็ร้องตามเพลง นกกรงหัวจุกก็เช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้นกกรงหัวจุกร้องได้ดี

5.การนำนกกรงหัวจุกไปฝึกซ้อม ผุ้เลี้ยงต้องนำนกกรงหัวจุกไปฝึกซ้อมกับนกกรงหัวจุกตัวอื่นๆ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จะทำให้นกชินและร้องเพลงได้ดี

6.การฝึกโดยการเป่านกหวีด ในสนามแข่งขันจริงๆ เวลาในการแข่งขันประชันเสียงจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที ต่อ 1 ยก เสียงกรรมการจับเวลาจะเป่านกหวีด ปิ้ดๆ หลายๆ ครั้ง แสดงว่าเตรียมตัว หมายถึงให้กรรมการตัดสินนกเตรียมตัว และจะเป่าปิ้ดยาวๆ อีก 1 ครั้ง แสดงว่าให้กรรมการเริ่มตัดสินได้ ผุ้เลี้ยงควรเอานกหวีดมาฝึกสอนนกว่าเมื่อได้ยินเสียงเป่านกหวีด ปิ้ดยาวๆ นกกรงหัวจุก ก็จะเริ่มร้องเหมือนในการประกวดแข่งขันจริง เพราะโดยปกติ นกกรงหัวจุกก็เป็นนกที่ร้องทั้งวันอยู่แล้ว ไม่ต้องกลัวนกจะไม่ร้อง

7.การฝึกนกให้จำชื่อตัวนกและเสียงเจ้าของได้ โดยปกติ ผุ้เลี้ยงกับตัวนกกรงหัวจุกจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะนกที่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลก็จะชอบผุ้นั้น และจำเสียงผู้เลี้ยงได้ ดังนั้น ผุ้เลี้ยงจึงควรตั้งชื่อนก นกก็จะจำเสียงเรียกชื่อตัวเองได้ รวมทั้งผุ้เลี้ยงต้องทำมือดีดนิ้ว ประกอบการทำเสียงและเรียกชื่อด้วย ให้ทำทุกวันจนนกจำได้ และร้องเพลง เมื่อผู้เลี้ยงทำเสียงเรียกชื่อ ดีดนิ้ว ครั้งต่อไปทั้งในเวลาเลี้ยงตามปกติ หรือในสนามแข่งขัน นกกรงหัวจุกก็จะร้อง โดยเฉพาะถ้านกร้องได้ตั้งแต่ 3 คำขึ้นไป และร้องเป็นเพลง ผุ้เลี้ยงต้องพูดชมนกต่อท้ายไปด้วยว่า เก่ง เพื่อให้นกจำได้ว่าร้องแบบนี้ เก่งแล้ว ดีแล้ว เหือนกับเราชมลูกของเราว่า ลูกทำเก่งทำดีแล้ว

8.การแขวนนกกรงหัวจุกไว้ใกล้ๆกัน การที่แขวนนกกรงหัวจุกไว้ใกล้ๆ กัน เป็นการฝึกให้นกเหมือนอยู่ในสนามแข่งขัน จะทำให้เคยชิน ไม่ตื่นสนาม โดยการนำนกกรงหัวจุกที่ไม่ค่อยสู้มาล่อ นกก็จะเกิดความกล้า และสามารถร้องสุ้กับตัวอื่นๆ ได้ โดยไม่กลัว

9.การนำนกกรงหัวจุกใส่กรงพาไปในที่ต่างๆ ให้ใช้ผ้าคลุมกรงก่อนนำนกไป เช่น พานกไปบ้านเพื่อน เพื่อไปประชันเสียงกับนกของเพื่อน พานกไปสนามซ้อม เป็นการทำให้นกคลายเครียดเหมือนกับเราพาลูกไปเที่ยว การพานกขึ้นรถเดินทางไปบ่อยๆ และนำนกไปแขวนไว้หลายๆ ที่เป็นการฝึกซ้อมนก ให้นกเคยชินและไม่ตื่นกลัว เวลาเราพานกกรงหัวจุกไปในสนามประกวดแข่งขันก็ไม่ตื่นตกใจและไม่กลัว

10.การเปลี่ยนกรงนก นกกรงหัวจุกที่เลี้ยงอยู่ทุกวัน เมื่อถึงเวลาแข่งขัน ผุ้เลี้ยงที่ทำกรงพิเศษไว้สำหรับใส่นกพาไปประกวดแข่งขัน ก็จะเปลี่ยนกรงใหม่ เพื่อเป็นการฝึกและสร้างความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนกรงนก หรือเปลี่ยนที่อยู่ของนก นกก็จะไม่ตื่นกรงใหม่ โดยก่อนถึงวันประกวดแข่งขันประมาณ 3-4 วัน ให้นำนกไปใส่ไว้ในกรงใหม่ เพื่อนกจะได้รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน เช่น คอนเกาะ น้ำและอาหารอยู่ตรงไหน นกกรงหัวจุกก็จะไม่ตื่นกรง และเคยชินกับกรงใหม่

11.การฝึกนกถ่ายขนหรือผลัดขนให้ร้อง ในเวลาที่นกถ่ายขนหรือผลัดขนใหม่ นกจะซึม กระโดดไปมาน้อย ไม่คอ่ยกินอาหาร ก็ต้องพานกไปหานกกรงหัวจุกตัวอื่น เพื่อทดสอบจิตใจ ควรพาไปฝึกซ้อมหรือพาไปในการประกวดด้วย แต่ไม่ต้องส่งเข้าประกวด ซึ่งจะเป็นการฝึกหัดนกที่ผลัดขน เมื่อได้ยินเสียงนกตัวอื่นร้องก็จะได้ร้องโต้ตอบ ทำให้เวลาผลัดขน ครั้งต่อไปนกก็ร้องได้

แหล่งที่มาของนกกรงหัวจุก



นกกรงหัวจุกที่เลี้ยงในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่จะนำมาจากทางภาคเหนือและต่างประเทศ ดังนี้

นกกรงหัวจุกในประเทศไทย
1.นกกรงหัวจุกจากภาคเหนือ มาจากจังหวัด เพชรบูรณ์,พิษณุโลก,สุโขทัย,อุตรดิตถ์,เชียงใหม่,เชียงราย,พะเยา
2.นกกรงหัวจุกจากภาคใต้ มาจากจังหวัดกระบี่, ตรัง, ระนอง, พังงา และนครศรีธรรมราช
นกกรงหัวจุกจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศพม่า ผ่านเข้ามาทางภาคเหนือและทางจังหวัดระนองของไทย

แหล่งขายนกกรงหัวจุก
จังหวัดปัตตานี เป็นแหล่งขายนกกรงหัวจุกแหล่งใหญ่ของไทยแหล่งหนึ่ง ในปีหนึ่งๆ จะมีการนำนกกรงหัวจุกมาขายนับ 100,000 ตัว โดยเฉพาะที่บ้านกูแบอีเต๊ะ ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นแหล่งซื้อขายนกที่สำคัญของทางภาคใต้ เมื่อได้นกมาแล้ว ก็จะนำนกกรงหัวจุกมาขุนให้สมบูรณ์ แข็งแรงแล้วก็จะขายต่อไป โดยมีผู้ซื้อดังนี้

ผู้ซื้อในประเทศ
ผู้ที่ชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก จะมาหาซื้อนกกรงหัวจุกไปเลี้ยง จะมาจากจังหวัดนราธิวาส, ยะลา, ตรัง, กระบี่, นครศรีธรรมราช, สงขลา, พังงา และจังหวัดปัตตานีเอง
ผู้ซื้อจากต่างประเทศ
มีผู้ซื้อจากประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์ มาซื้อนกกรงหัวจุกจากจังหวัดปัตตานี

ราคาของนกกรงหัวจุก
นกกรงหัวจุกที่มีการซื้อขายกันในปัจจุบันนี้มีหลายราคา ขึ้นอยู่กับรูปร่าง จำนวนคำที่ร้อง สำนวน ท่าทางและลีลา และอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบ รวมทั้งนกกรงหัวจุกที่มีสีขนแปลกแตกต่างไปจากนกกรงหัวจุกธรรมดา นกกรงหัวจุกที่มีขนสีขาวทั้งตัว นกกรงหัวจุกที่มีขนลาย หรือนกกรงหัวจุกที่มีสร้อยที่หน้าอกติดกันเหมือนคอหมีควาย ที่หน้าอกเป็นรูปตัววี ซึ่งราคาของนกกรงหัวจุกที่ซื้อขายกัน มีดังนี้
1. นกกรงหัวจุกที่ผู้ซื้อมาขาย ผู้ขายที่จังหวัดปัตตานี ก็จะคัดนกกรงหัวจุกที่มีลักษณะดีออกไปใส่กรงเดี่ยวไว้ ราคานกกรงหัวจุกที่ได้คัดนี้ จะมีราคาหลักหลายร้อยบาทจนถึงหลักพันบาทต่อตัว
2. นกกรงหัวจุกที่เหลือจากที่ผู้ขายคัดแล้ว ผู้ขายก็จะใส่กรงรวมขนาดใหญ่พอสมควร เพื่อให้ผู้ซื้อจากจังหวัดอื่นๆ มาเลือกซื้อ จะมีราคาหลักร้อยบาทต่อตัวขึ้นไป
3. นกกรงหัวจุกที่มีขนสีผิดไป จากนกกรงหัวจุกที่มีขนสีปกติ โดยเฉพาะนกกรงหัวจุกที่มีขนสีขาว จะมีราคาหลักหมื่นบาทต่อตัวขึ้นไป
4. นกกรงหัวจุกที่ประกวดแข่งขันประชันเสียง และได้รางวัลแล้ว ก็จะมีราคาตั้งแต่หลักหลายพันบาท จนถึงหลักหมื่นบาทต่อตัว

ซึ่งการซื้อขายนกกรงหัวจุกทั้ง 4 แบบนี้ จะตั้งราคาเท่าไหร่ก็แล้วแต่ความพอใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่จะตกลงซื้อขายกัน

โรคทั่วไปและการรักษานกกรงหัวจุกเบื้องต้น



โรคไข้หวัด
สาเหตุ เกิดจากในเวลาฝนตกละอองฝนจะถูกนกหรือนกถูกลมเย็นโกรกมากๆ ทำให้เป็นโรคไข้หวัดได้ 
อาการ 
 
- ขนนกจะพองไม่เรียบ
 
- ดวงตาไมม่สดใส นกจะซึมคอตก และหลับตา ตาจะแฉะ
 
- นกไม่กระโดดไปมา ยืนหรือนั่งนิ่งๆ อยู่บนคอนเกาะ ร้องน้อยหรือไม่ร้องเลย
 
- นกจะเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ลง จะมีอาการไอหรือจามมีน้ำมูก ตอนแรกน้ำมูกจะใส่ต่อมาจะข้น


การป้องกัน 
- ให้นกกินพริกขี้หนูแดง โดยหั่นผสมกับน้ำผึ้ง
- พยายามให้นกออกกำลังบ้าง โดยการเคาะกรงให้กระโดด เพื่อสร้างความแข็งแรง
- นำนกไปตากแดดอ่อนๆ แล้วเก็บเข้าร่ม เพื่อให้ขนและตัวนกแห้ง
- ใช้ตะไคร้ใส่ถ้วยน้ำให้นกกินน้ำ เพราะตะไคร้เป็นยาแก้ไข้
การรักษา
- ให้ยาแก้ไขนก โดยซื้อจากร้านขายอุปกรณ์นก
- ให้ยาลดไข้เด็กที่เป็นน้ำหยดใส่ปากนก 2-3 หยด
- ให้หอมแดงโดยทับหัวให้แตก ทำให้เกิดกลิ่น เอาผ้าขาวบางห่อหัวหอม นำไปแขวนไว้ในกรง อยู่ระดับเดียวกับคอนเกาะ ให้นกดมกลิ่นหอมแดง จากนั้นก็ใช้ผ้าคลุมกรง นกก็จะสูดเอากลิ่นหอมแดงเข้าไป เมื่อกลิ่นหอมแดงหมดก็เปลี่ยนใหม่ เพราะกลิ่นหอมแดงเป็นยาแก้ไขหวัด
- ใช้ใบตะไคร้ขยี้ให้เกิดกลิ่น แล้วใช้ผ้าขาวบางห่อไปใส่ไว้ในกรงเช่นเดียวกับหอมแดง

โรคปอดบวม
สาเหตุ เกิดเช่นเดียวกับไข้หวัด แต่ถ้าไม่รักษาปอดก็จะบวมหรือเวลานกอาบน้ำแล้วไม่นำนกไปตากแดด นำไปเก็บเลย ทำให้นกขนเปียกไม่แห้งเป็นโรคปอดบวมง่าย
การป้องกัน  ควรนำนกไปตากแดดที่ชายคาที่ราวแขวนนกหรือที่กิ่งไม้ เพื่อให้ขนแห้ง
การรักษา  รักษาเช่นเดียวกับนกที่เป็นหวัด

โรคขี้นก
สาเหตุ  นกกินผลไม้ไม่สุก เพราะที่เปลือกผลไม้ยังมียางอยู่ ทำให้การขับถ่ายลำบากติดก้นนก และขี้นกจะเหนียว โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า ควรเป็นกล้วยที่สุกแล้ว
การป้องกัน ผลไม้ที่นำมาให้นกกิน ควรเป็นผลไม้สุกแล้ว ครั้งละ 2 ชนิด อย่าให้กินกล้วยเพียงอย่างเดียว เช่น ควรกินกล้วยกับมะละกอ ส้มกับมะเขือเทศ และแตงกวากับลูกตำลึงสุก เป็นต้น
โรคขี้นกขาว
สาเหตุ  เกิดจากนกกระจอกหรือไก่มากินน้ำที่จะให้นกกิน ส่วนนกกระจอกจะไปกินน้ำที่กรงนกหรือขี้ใส่กรงนำ เพราะจะเป็นพาหะนำเชื้อนี้ติดให้กับนำกรงหัวจุก
การป้องกัน
- บริเวณเลี้ยงนกไม่ควรมีนกกระจอกหรือไก่
- ทำความสะอาดถ้วยน้ำ ถ้วยอาหาร และถอดรองขี้นกทุกวันหรือวันเว้นวัน
การรักษา  ใช้ยาปฏิชีวนะ โดยซื้อจากร้ายขายอุปกรณ์นก

โรคหลอดลมอักเสบ
อาการ  นกจะอ้าปาก เพราะนกหายใจลำบาก เสียงหายใจจะดังในลำคอ จะมีเมือก นกจะไอ น้ำมูกไหลซึมอยู่นิ่งๆ เบื่ออาหาร ซึ่งโรคนี้จะมากับอากาศและละออง
การป้องกัน  ทำความสะอาดกรง อย่าให้ชื้นแฉะ
การรักษา  ให้ยาปฏิชีวนะ ซื้อจากร้านขายอุปกรณ์
โรคท้องเสีย
สาเหตุ  กินอาหารสกปรกหรืออาหารค้างคืน 
อาการ  นกจะถ่ายเป็นน้ำค่อนข้างเหลว
การป้องกัน  ควรให้นกกินอาหารที่สะอาดและไม่ค้างคืน
การรักษา 
 
- นำต้นตะไคร้สดมาหั่นเป็นท่อนเล็กๆ แล้วทุบให้ซ้ำ ใส่ในถ้วยน้ำให้นกกิน
- ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งมาฝนกับหินให้เป็นผง นำผงมังคุดมาผสมกับน้ำสะอาดที่ทำเป็นน้ำปูนใสที่กินกับหมากผสมให้นกกิน
- ซื้อยาปฏิชีวนะจากร้านขายอุปกรณ์นก

โรคท้องผูก
อาการ  นกจะถ่ายออกมาเป็นก้อนแข็ง การกินอาหารน้อยลง มีอาการซึม
การรักษา  
- ซื้อยาแก้ท้องผูกจากร้ายขายอุปกรณ์นก
- ซื้อดีเกลือจากร้านขายยามาผสมกับน้ำสะอาด กรอกปากนก 1 ช้อนชา ทุก 3 ชั่วโมง
- ใช้น้ำมะนาวกรอกปากนกครั้งละ 1 ช้อนชา ทุก 3 ชั่วโมง จนกว่านกจะมีอาการดีขึ้น และหายจากโรค
โรคตาเจ็บ
อาการ  ตานกจะแฉะ มีขี้ตามากกว่าปกติ
การรักษา
- ใช้เถาตำลึงสดที่มีขนาดนิ้วก้อยตัดให้ยาวท่อนละ 5-6 นิ้ว วิธีเอาเถาตำลึงที่บีบน้ำไปใกล้ตานกทั้งสองข้างให้มากทีสุด แล้วให้น้ำตำลึงตกใส่ตานก
- ซื้อยาหยอดตาจากร้านอุปกรณ์นก

โรคพยาธิ
อาการ  นกถ่ายมูลออกมามีตัวพยาธิ นกจะกินอาหารเก่งแต่ผอม และนกมีอาการเชื่องซึม โดยพยาธิที่สำคัญมีดังนี้
- พยาธิไส้เดือน ตัวกลมคล้ายเส้นเชือก สีขาว ตัวใหญ่กว่าพยาธิเส้นด้าย
- พยาธิเส้นด้าย ตัวกลมเล็กเหมือนเส้นด้าย ที่สำคัญเมื่อนกเป็นพยาธิมักไม่ค่อยร้อง
การป้องกัน  ควรระวังเรื่องน้ำและอาหารต้องสะอาด
การรักษา 
 
- ให้ดีเกลือที่ซื้อจากร้ายขายยามาผสมกับน้ำให้มีรสอ่อนๆ กรอกปากนก 1 ช้อนชา กินวันละ 3 ครั้ง ให้นกถ่ายพยาธิออกมาเว้น 10 วัน ก็ให้กินดีเกลือผสมน้ำอีก กินจนนกถ่ายออกมาไม่มีพยาธิ
- ซื้อยาถ่ายพยาธิจากร้านขายอุปกรณ์นก

โรคนกขาดน้ำ
สาเหตุ  การลืมให้น้ำนกเกินกว่า 1 วัน นกจะมีอาการขนตั้งชัน เพราะนกจะหิวน้ำมาก
การป้องกัน  ควรให้น้ำนกกินทุกวัน
การรักษา
- ถ้านกขาดน้ำ ควรให้น้ำนกกินทีละน้อย อย่าให้นกกินน้ำมากจนจุกเหมือนกับคนที่หิวน้ำ นานๆ พอได้กินน้ำก็กินมาก จนสำลักน้ำ นกก็อาจจะสำลักน้ำตายได้ วิธีการควรเทน้ำลงในถ้วยน้ำ 3-4 หยด ก็พอให้นกค่อยๆ กินน้ำ ถ้านกกินน้ำจนจุกและสำลักน้ำ ใช้ใบชุมเห็ดเทศสด 1 ใบ มาขยี้คลุกเคล้ากับน้ำปูนขาว (ปูนกินหมาก) โดยใช้น้ำปูนใส่ผสมกับใบชุมเห็ดเทศ แล้วกรองน้ำป้อนให้นกกิน 2-3 วัน

โรคร้อนใน
สาเหตุ  เกิดจากนกร้อนในและเป็นแผลในปาก นกจะไม่ร้อง ยืนซึมนานๆ
การป้องกัน  
- ให้แตงกวานกกิน เพราะแตงกวาแก้ร้อนใสน
- กินน้ำสามขาตาแรด ซึ่งมีขายตามร้านขายยา ยาน้ำสามขานี้เป็นของมาเลเซีย ใส่ถ้วยให้นก

การเลี้ยงดูลูกนกกรงหัวจุกระยะต่างๆ




นกกรงหัวจุกเป็นนกที่มีอายุยืน จากการสอบถามผู้ที่เคยเลี้ยงนกกรงหัวจุกตั้งแต่ลูกนก จนมีอายุ 18 ปี นกกรงหัวจุกก็จะตาย แต่ถ้านกกรงหัวจุกที่อยู่ในธรรมชาติ มีอาหารการกินดีไม่ขาดแคลน ก็อาจจะมีอายุได้มากกว่านี้ก็เป็นไปได้ สำหรับการเลี้ยงนกกรงหัวจุกระยะต่างๆ มีดังนี้
การเลี้ยงดูลูกนกเกิดใหม่ 

ลูกนกที่เกิดใหม่ ก็จะมีวิธีการให้อาหารคือ
1.ใช้อาหารลูกไก่ ทำให้ละเอียด ป้อนให้ลูกนกกิน
2.ใช้กล้วยน้ำว้า ทำให้เละป้อนให้ลูกนกกิน
3.ใช้หนอนนก ป้อนให้ลูกนกหิน
การป้อนก็จะป้อนสลับกันไป ถ้าหากลูกนกยังร้องอยู่ในขณะป้อนก็แสดงว่าลูกนกยังไม่อิ่ม ก็ให้ป้อนอาหารจนกว่าลูกนกจะหยุดร้อง หรือดูว่าลูกนกกินอาหารมากพอสมควรแล้วก็หยุดป้อน เพราะถ้าลูกนกกินมากเกินไป ท้องจะแน่นจุดเสียดได้ นอกจากป้อนอาหารแล้ว ต้องป้อนน้ำให้ลูกนกด้วยและหัดให้ลูกนกกินอาหารเองบ้าง จนอายุ 15-20 วัน ขึ้นไปก็สามารถแยกลูกนกไปไว้ในกรงเดี่ยว และให้แขวนใกล้ลูกนกตัวอื่นๆ ด้วย เพื่อไม่ให้ลูกนกตื่นกลัว เพราะจะรู้ว่ามีเพื่อนอยู่ข้างๆ
การเลี้ยงดูลูกนกในกรง
ลูกนกในกรงเริ่มกินอาหารเองได้แล้ว และมีสุขภาพแข็งแรงพออายุได้ประมาณ 40 วัน นกก็จะมีขนขึ้นเต็ม สีขนของนกก็จะเปลี่ยนเป็นสีเทา พอนกอายุได้ 100-120 วันขึ้นไป นกก็จะเริ่มผลัดขน ขนก็จะเปลี่ยนเป็นสีขาวสีน้ำตาล ต่อมาจะมีขนแดงใต้ตาและมีแก้มสีขาว มีแถบดำที่เรียกว่าสร้อยคอ ขนใต้หางจะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม ระยะนี้ต้องให้อาหารนกกินให้สมบูรณ์


การเลี้ยงนกหนุ่ม
เมื่อนกกรงหัวจุกผลัดขนจนเป็นนกหนุ่มที่สมบูรณ์แล้ว ส่วนต่างๆ ของร่างกายก็จะแข็งแรงเจริญเติบโตและสมบูรณ์ดี เมื่อนกเป็นหนุ่มจนถึงนกที่มีอายุมาก ในปีหนึ่งๆ นกกรงหัวจุกจะมีการผลัดขนปีละ 1 ครั้งขึ้นไป ขณะผลัดขนนกกรงหัวจุกจะคัน บางตัวก็ไซร้ขนออก บางตัวก็จิกขนให้ร่วง เมื่อขนจะร่วงนกกรงหัวจุกจะไม่สวย ควรจะนำนกไปไว้ในกรงผลัดขน ซึ่งความกว้าง ความยาว และความสูงของกรงจะใหญ่กว่ากรงเลี้ยงธรรมดาโดยเฉพาะจะดีที่สุด หรืออาจจะไปปล่อยไว้ในกรงพักนกใหญ่ก็ได้ ในช่วงผลัดขน นกกรงหัวจุกจะไม่ร้อง ถ้ร้องก็ร้องนิดหน่อย จนกว่าจะผลัดขนหมดก็จะเริ่มร้อง ซึ่งนกหนุ่มนี้จะร้องเพลงฟังได้ เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี

การเลี้ยงนกกรงหัวจุกที่อ้วน
ผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก เมื่อเริ่มเลี้ยงใหม่ๆ ก็จะให้อาหารการกินแก่นกเป็นอย่างดี กลัวนกจะหิว เพราะนกเมื่อได้มาใหม่จะผอม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสาเหตุให้นกอ้วนไป เพราะนกกรงหัวจุกที่อ้วน จะขี้เกียจกระโดดออกกำลังกาย และขี้เกียจร้อง ดังนั้น จึงต้องลดความอ้วนของตัวนกลง โดยการให้อาการให้น้อยลง สิ่งที่ต้องให้น้อยหรือหยุดการให้นกกิน ได้แก่ กล้วยน้ำว้า และอาหารเม็ด และหนอนนก เพราะอาหารพวกนี้จะมีโปรตีนและไขมันสูง ควรงดการให้สักระยะหนึ่งจนกว่านกจะผอมลง ต้องให้อาหารจำพวก มะละกอสุก ลูกตำลึงสุก เพื่อให้นกถ่ายอุจจาระบ่อยๆ และให้นำนกไปตากแดดมากขึ้น เพื่อให้นกได้กระโดดไปมาเป็นการออกกำลังและร้อง จนกว่านกจะผอมเป็นปกติ นกก็จะคล่องแคล่วว่องไว สดใสแข็งแรง และร้องเพลงได้ดี



การผสมพันธุ์ของนกกรงหัวจุก

การผสมพันธุ์  ปกตินกกรงหัวจุกตามธรรมชาติ  จะมีการผสมพันธุ์กันปีละ 6-8 ครั้ง ในแต่ละครั้งจะออกไข่ 2-3 ฟอง มีลูกครั้งละ 2-3 ตัว ในปีหนึ่งๆ นกกรงหัวจุกจะมีลูกประมาณ 12-24 ตัว ซึ่งการผสมพันธุ์นกกรงหัวจุกนี้มี 2 แบบ ด้วยกันคือ

การผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ
เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ในช่วงระยะระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มกราคม นกกรงหัวจุกจะร้องเรียกคู่ เมื่อนกกรงหัวจุกได้พบตัวเมีย ก็จะแสดงท่าทางโดยการโน้มตัวไปข้างหน้า ขณะอยู่บนกิ่งไม้ที่เกาะ ทำปีกห้อยลงข้างลำตัว รวมทั้งทำปีกขยับไปมาทั้ง 2 ข้าง ส่วนหางก็จะกระดกไปมา ส่วนหัวก็ส่าย และทำตัวหมุน ปากก็จะร้องเป็นเพลงเกี้ยวกัน เมื่อนกตัวผู้และตัวเมียถูกใจสกัน ก็จะบินออกไปจากฝูงไปอยู่คู่กัน โดยจะทำรังบนต้นไม้พุ่มออกทึบๆ การทำรังจะช่วยกันไปคาบกิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้าแห้งมาทำรัง แล้วผสมพันธุ์ ตัวเมียจะตกไข่ประมาณ 2-3 ฟอง ใช้เวลาในการฟักประมาณ 10-13 วัน ก็จะฟักออกเป็นลูกนก ในระหว่างที่ลูกนกออกมาพ่อแม่นกก็จะออกไปหาอาหารให้ลูกนกกิน เช่น หนอน ตั๊งแตน ผลไม้ เมื่อลูกนกอายุได้ประมาณ 20 วัน ก็จะเริ่มหัดบิน เมื่อลูกนกบินได้แข็งแรง สามารถกินอาหารได้เอง พ่อแม่นกก็พาลูกนกไปรวมฝูงเดิม เพราะการหากินของนกกรงหัวจุกตามธรรมชาติจะออกหากินแบบเป็นฝูง

วิธีการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
ก่อนจะมีการผสมพันธุ์ ผู้เลี้ยงต้องคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงและอายุที่เหมาะสม เพื่อจะได้ลูกที่ดี แม่พันธุ์ที่ดี ช่วงลำตัวต้องยาว หัวไม่เล็กเกินไป ดวงตาสดใส ไม่หม่นหมอง ฐานจุกต้องหนาพอควร สุขภาพร่างกายต้องแข็งแรงปราดเปรียว ส่วนนกที่เป็นพ่อพันธุ์ นอกจากหัวใหญ่ หน้าใหญ่ จุกใหญ่แล้ว ฐานจุกต้องเต็ม ปลายโค้งต้องงอไปข้างหน้าเล็กน้อย ดวงตาต้องกลม สดใส ไม่หม่นหมอง ชวงลำตัวต้องยาวเช่นกัน ควรเป็นตัวที่มีสีสันธรรมชาติที่สุด หางสั้นซ้อนทับกัน นอกจากนี้ พฤติกรรมต้องดี ไม่เกเรหรือมีนิสัยก้าวร้าว เช่น จิกหาง จิกปีก หรือจิกหน้าอกตัวเอง น้ำเสียงต้องดี เพราะมันหมายถึงการมีหลอดเสียงและปอดที่ใหญ่ อีกทั้งสุขภาพร่างกายต้องแข็งแรง ปราวเปรียว ถ้าให้ดีควรเลือกตัวที่มีเลือดนักสู้เต็มร้อย ยิ่งถ้าเป็นนกที่เคยชนะการแข่งขันมาแล้วยิ่งดีมาก
การผสมพันธุ์โดยผู้เลี้ยงจัดเตรียมสถานที่
การผสมพันธุ์นกกรงหัวจุกแบบนี้ ผู้เลี้ยงต้องไปจัดหาสถานที่ให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งผู้เลี้ยงต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์


สำหรับให้นกกรงหัวจุกผสมพันธุ์ ดังนี้
1. หากต้นไม้ชนิดเป็นพุ่มทึบ ขนาดไม่สูงมากนัก โดยมีความสูงประมาณ 2 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 เมตร มีใบหนาแน่นเพื่อไม่ให้ศัตรูมองเห็น หรือจะปลูกต้นไม้ พวกต้นไทรที่มีขนาดไม่สูงนัก ต้นทรงบาดาล ต้นแก้ว ต้นพิกุล ต้นหางนกยูงไทย ต้นเฟื้องฟ้า ไว้ที่สวนหลังบ้าน หรือต้นไม้อื่นๆ ที่เป็นธรรมชาติ แต่ต้องเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดกลาง ต้นไม่สูง
2. ทำกรงครอบต้นไม้ โดยใช้ไม้ไผ่ ไม้จริง หรือเหล็ก ทำเป็นเสา 4 เสา และคาน กรงที่จะให้นกผสมพันธุ์มีความกว้างประมาณ 1.5 เมตร สูงประมาณไม่เกิน 3 เมตร ยกไปตั้งครอบต้นไม้ที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ใช้ตาข่ายที่มีสีฟ้าตาเล็ก หรือใช้ตาข่ายแบบเป็นลวดตาข่ายที่มีขนาดเล็ก ไม่ให้พ่อแม่และลูกนกลอดออกมาได้ คลุมกรงนกไว้ทั้ง 5 ด้าน เป็นด้านข้าง 4 ด้าน ด้านบนกรง 1 ด้าน และทำประตูสำหรับให้ผู้เลี้ยงเข้าออกด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อเข้าไปให้น้ำและอาหารแก่นก
3. การทำรังนก ให้ใช้เปลือกมะพร้าวที่แกะกะลาออกแล้ว ไปผูกไว้ตามกิ่งหลายๆ จุด นำเศษหญ้าแห้ง ฟางข้าวแห้ง ไปวางไว้ที่พื้นกรง เมื่อแม่นกชอบรังไหน แม่นกและพ่อนกก็จะช่วยกันคาบหญ้าแห้ง ฟางข้าว ไปใส่ในเปลือกมะพร้าวที่ทำเป็นรังไว้ให้ เพื่อวางไข่และฟักไข่ต่อไป
4. หลังคากรงนก กรงนกสำหรับให้นกผสมพันธุ์ ควรจะใช้ตับจาก หญ้าคา หญ้าแฝก เป็นหลังคาจะเป็นธรรมชาติ โดยจะปิดหลังคาไว้ครึ่งหนึ่ง อีกครึงหนึ่งเปิดไว้ให้แสดงแดดเข้าได้ เพราะนกกรงหัวจุกต้องการาแสงแดด เมื่อได้แสงแดด ก็จะทำให้นกมีกระดูกแข็งแรง เพราะแสงแดดช่วยเสริมสร้างวิตามินดี
5. ที่แขวนอาหาร ใช้ลวดแข็งทำเป็นตะขอเกี่ยวไว้ข้างกรง แล้วนำมะละกอ กล้วย ลูกตำลึงสุก ส้มเขียวหวาน แตงกวา บวบ ไปเกี่ยวตะขอให้นกกิน และหากกล่องพลาสติกใส่อาหารเม็ด นำไปแขวนไว้ข้างกรงให้นกกินเช่นเดียวกัน
6. หากแก้วหรือที่ใส่น้ำไปวางให้นกกิน
7. หาขันพลาสติก หรืออ่างกระเบื้องดินเผา ใส่น้ำให้นกอาบในเวลาที่นกต้องการอาบน้ำ โดยตั้งไว้ตรงที่มีแดดส่องถึงพื้นล่างกรง
8. การผสมพันธุ์ จากการสอบถามคุณประนอม สังข์นุ่น ผู้เพาะพันธุ์นกกรงหัวจุก ได้กล่าวว่า การที่จะทำให้นกมีการผสมพันธุ์ โดยใช้วิธีเลียนแบบธรรมชาติ 2 วิธี ดังนี้
8.1 นำแม่นกกรงหัวจุกที่มีลักษณะดีใส่ไว้ในกรงผสมพันธุ์ประมาณ 2-3 วัน เพื่อแม่นกจะได้เตรียมตัวทำความคุ้นเคยกับกรงนก จากนั้นก็ให้นำตัวผู้ที่มีลักษณะดีใส่กรงนก ไปแขวนไว้ข้างกรงนกผสมพันธุ์ที่ด้านนอกกรง ด้านละ 1 ตัว รวม 4 ตัว เพื่อให้ตัวเมียได้เลือกคู่เอง ปล่อยตัวผู้ไว้ที่ข้างกรงประมาณ 2-3 วัน ให้ผู้เลี้ยงสังเกตดูตัวเมียว่าชอบตัวผู้ตัวไหน กล่าวคือ ถ้าตัวเมียไปเกาะข้างกรงที่มีตัวผู้ไม่ค่อยไปไหน แสดงว่าตัวเมียสนใจและเลือกตัวผู้ตัวนั้น จากนั้นก็ให้นำตัวผู้ที่ตัวเมียชอบเพียง 1 ตัว ใส่เข้าไปในกรงผสมพันธุ์ ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติต่อไป
8.2 นำนกตัวพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะดีใส่ไว้ในกรงผสมพันธุ์ 1 ตัว จากนั้นก็นำตัวแม่ที่มีลักษณะดีเช่นกันใส่ในกรง 3-4 ตัว ให้ผู้เลี้ยงสังเกตดูว่าตัวเมียตัวไหนชอบตัวผู้ ก็ให้นำตัวเมียตัวอื่นออกจากกรงเหลือเพียง 1 ตัว ให้ตัวเมียและตัวผู้ผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติต่อไป ข้อควรระวัง นกตัวเมียอาจจะจิกตีกัน ควรเป็นตัวเมียที่เลี้ยงหรือเคยอยู่ด้วยกันมาก่อน เพราะถ้าเอาตัวเมียจากที่อื่นมาใส่ในกรงตัวผู้จะต้องจิกตีกันอย่างแน่นอน

การฟักไข่
รังของนกกรงหัวจุกควรเป็นรังไม่ใหญ่นัก อาจจะใช้เปลือกมะพร้าวหรือรังสำเร็จรูปสำหรับให้แม่ไก่ฟักก็ได้ ซึ่งมีลักษณะขาตั้งเป็นลำไม้ไผ่ ตรงปลายผ่าเป็นซี่ๆ และเอาตอกมาสานสลับไปมา ซึ่งที่ฟักไข่แบบนี้ทางร้านขายอุปกรณ์สัตว์มีขาย เป็นทีนิยมทางภาคใต้ เมื่อผสมพันธุ์แล้ว นกจะไข่ออกมาครั้งละ 2-3 ฟอง ลักษณะไข่ของนกกรงหัวจุกมีเปลือกไข่ลายเหมือนไข่นกกระทา เป็นจุดสีดำและสีน้ำตาลสลับกันไป ความยาวของไข่ประมาณ 1 นิ้ว ความกว้างของไข่ประมาณ 0.5 นิ้ว หัวท้ายของไข่จะมน แม่นกกรงหัวจุกเมื่อออกไข่แล้ว ก็ใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 12-13 วัน ไข่ก็จะฟักออกมาเป็นลูกนก ตามธรรมชาติพ่อแม่นกต้องหาอาหารให้ลูกนกกิน ดังนั้น ผู้เลี้ยงต้องเตรียมอาหารให้ลูกนก ได้แก่ หนอนนก ตั๊กแตน หนอนมดแดง เพื่อให้พ่อแม่นก ควบไปป้อนให้ลูกนกกินให้เพียงพอ ลูกนกเมื่อมีอายุประมาณ 20 วัน ขนก็จะเริ่มเปลี่ยนและขึ้นเต็มตัว พ่อแม่นกจะสอนให้ลูกนกหัดบิน หัดกินอาหาร ผู้เลี้ยงก็จะแยกลูกนกออกมาเลี้ยง ส่วนพ่อแม่นกก็จะแยกกรงเลี้ยงต่อไป และเมื่อลูกนกมีอายุได้ 30-60 วัน ขนใต้ตายังไม่เปลี่ยนสี และร้องยังไม่เป็นก็สามารถนำไปเลี้ยงต่อไป

ข้อควรระวังในระหว่างที่นกฟักไข่
1. นกกรงหัวจุกชอบความเงียบสงบ ไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวน
2. อย่าทำให้นกตกใจ เช่น คน สุนัข แมว ไก่ เหยี่ยว เข้าไปทำให้นกตกใจ เพราะนกอาจจะไม่ฟักหรือเขี่ยไข่ทิ้ง หรือลูกนกตกใจตกจากรังตาย
วิธีอนุบาลลูกนก
หลังจากผสมพันธุ์ แม่นกจะวางไข่ โดยจะวางครั้งละ 2-3 ฟอง ทั้งพ่อแม่และแม่พันธุ์จะช่วยกันกกไข่ โดยกกประมาณ 15 วัน ไข่จะฟักออกเป็นตัว จากนั้นประมาณ 15-20 วัน ลูกนกจะเริ่มหัดบิน โดยมีพ่อแม่คอยดูแล จนกว่าจะสามารถใช้ชีวิตในธรรมชาติได้โดยลำพัง
ช่วงเลี้ยงลูกอ่อน ถ้าดูแลดี อัตราการตายของลูกนกจะน้อยมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อลูกนกอายุ 15-20 วัน ควรแยกลูกนกออกจากกรงผสมไปเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้พ่อแม่นกมีเวลาพักผ่อน พักฟื้นร่างกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมที่จะผสมพันธุ์ครั้งต่อไป ลูกนกที่แยกออกไปเลี้ยง ในระยะแรกอาจให้ลูกครอกเดียวกันอยู่รวมกันไปก่อน การให้อาหาร ควรใช้ไม้แบบช้อนตักไอศกรีมบี้อาหารให้ละเอียด แล้วตักป้อนให้ลูกนกกินจนอิ่ม ซึ่งเวลาอิ่มลูกนกจะนิ่งเงียบไม่ร้องกวนใจ อาหารที่ให้ในช่วงนี้จะเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่ โดยนำมาผสมกับน้ำป้อนให้ลูกนกกิน นอกจากนี้ ควรให้กล้วยน้ำว้ากับมะละกอสลับกัน เพื่อให้ลูกนกคุ้นเคยกับอาหารธรรมชาติ หลังจากป้อนลูกนกด้วยไม้ประมาณ 5-10 วัน ผู้เลี้ยงควรหัดให้ลูกนกกินอาหารเอง โดยเอาอาหารใส่ไว้ในภาชนะ แล้วลูกนกจะค่อยๆมากินเอง เมื่อลูกนกอายุได้ 50 วัน ควรแยกลูกนกไปเลี้ยงเดี่ยว ควรแขวนกรงไว้ใกล้ๆกัน ลูกนกจะได้ไม่รู้สึกขาดความอบอุ่น และไม่ตื่นตกใจกลัวจนเกินไป แม้ลูกนกจะกินอาหารเองเป็นแล้ว ก็ควรป้อนหนอนนกแก่ลูกนกเป็นประจำ เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างนกกับคนเลี้ยง หลังจากนั้นจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของลูกนกอยู่เรื่อยๆ เริ่มจากขนหน้าอกและบริเวณใบหน้าจะมีลายสีเทาจางๆ ขึ้นทั่วไป แต่หมึกยังเป็นสีเทาอ่อน แก้มยังไม่แดง ตลอดจนบัวใต้หางก็ยังมีสีเทาจางๆอยู่ เมื่ออายุได้ 90-120 วัน ลูกนกจะเริ่มเป็นวัยรุ่น มีการผลัดขนออกทั้งตัวเป็นครั้งแรก พอขนชุดนี้ขึ้นมาสีขนจะเปลี่ยนไป ขนหน้าอกและท้องจะขาวขึ้น สีขนทั่วไปจะเข้มขึ้นอย่างเห็นชัดเจน ขณะเดียวกันขนหูจะเป็นสีแดง บัวใต้หางจะเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือแม้กระทั่งหมึกก็เป็นแถบสีดำ กลายเป็นนกวัยรุ่นเต็มตัว

การเลี้ยงนกวัยรุ่น
นกวัยรุ่นควรแขวนเลี้ยงไว้ตามชายคาบ้านหรือกิ่บไม้ที่แข็งแรง นกระยะนี้ เมื่อยามเช้าตรู่อากาศสดชื่น นกจะสดชื่นร่าเริง และจะเริ่มส่งเสียงร้องตลอดเวลา พร้อมทั้งออกลีลาท่าทางอย่างงดงาม ช่วงนี้ให้เลี้ยงด้วยมะละกอสุก 1 ชิ้นพออิ่ม หรือกล้วยสุกครึ่งลูก แตงกวา 1 ซีฝาน เวลาผู้เลี้ยงไม่อยู่บ้านควรเก็บนกไว้ในบ้าน เพื่อความปลอดภัยจากศัตรูต่างๆ รวมทั้งขโมย ควรเป็นที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องถึง หากผู้เลี้ยงมีเวลาพอให้เตรียมสนามซ้อมหรือราวเอาไว้แขวนกรงนก เพื่อให้นกได้ตากแดด เสริมวิตามินดีจากธรรมชาติ และสร้างความสดชื่นให้กันนกอีกทางหนึ่ง

การตากแดด
นกใหม่หรือนกวัยรุ่นที่ยังไม่พร้อมจะแข่งขัน จะไม่คึกคักหรือตื่นตัวเท่าที่ควร ฉะนั้นควรให้ตากแดดปกติธรรมดา โดยไม่ต้องหักโหมให้ตากแดดมากเกินไป เพราะโดยธรรมชาติ เมื่อนกเจอแดดร้อนจะเข้าไปแอบในร่มไม้เพื่อพักผ่อน สำหรับนกวัยรุ่นจะนำออกตากแดดตั้งแต่เช้าตรู่ จนถึงเก้าโมงเช้าก็เพียงพอ จากนั้นก็นำเข้าร่ม แยกนกให้ห่างกัน เพื่อกันไม่ให้นกตื่นกลัวกันเองจนนกไม่ร้อง
การตากแดดนกที่พร้อมจะแข่งขัน
นกกลุ่มนี้จะถูกนำออกตากแดดนาน เพื่อสร้างความแข็งแรงและอดทนต่อแสงแดดเวลานำออกแข่งขัน ส่วนใหญ่จะนำออกตากแดดจากเก้าโมงเช้าจนถึงบ่ายโมง โดยจะตากแดดตลอดไม่มีการยกเข้าไปพักในร่ม เพื่อให้นกกระโดดและร้องไปเรื่อยๆ การแขวนจะต้องแขวนให้ห่างกันพอสมควร อย่าให้อยู่ชิดติดกันเหมือนตอนแข่งหรือซ้อม เพราะนกจะต่อสู้กันทุกวัน จนเกิดอาการชินชา เวลาแข่งจริงอาจไม่มีเสียงร้อง เมื่อตากแดดพอแล้ว ก็นำเข้าร่มในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกโปร่งโล่ง เพื่อให้นกได้พักผ่อน ผ่อนคลายอิริยาบถจนถึงประมาณสี่โมงเย็น จึงนำออกไปแขวนข้างนอก เพื่อความสะอาดกรง และภาชนะบรรจุอาการให้สะอาด และควรล้างซี่กรงด้านล่างหรือท้องกรงด้วยการฉีดน้ำให้ทั่ว แล้วใช้แปรงสีฟันหรือฟองน้ำขัดทำความสะอาด พร้อมกับล้างถาดรองขี้นกจนสะอาด จากนั้นก็หงายขันน้ำเติมน้ำให้เต็ม แล้วนำกรงแขวนในร่มเพื่อให้นกลงอาบน้ำ ถ้าตัวไหนไม่ยอมอาบน้ำให้ใช้กระบอกฉีดน้ำปรับให้เป็นฝอยๆ ฉีดให้ทั่วตัวบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้นกลงอาบน้ำเอง หลังจากอาบน้ำเสร็จ นกจะแต่งตัวด้วยการใช้ปากไซร้ขนทั่วตัว เพื่อทำความสะอาดและเช็ดขนให้แห้ง จากนั้นก็คว่ำขันน้ำ แล้วยกกรงนกไปตากแดดอ่อนๆ เพื่อทำให้ขนนกแห้ง สร้างความสวยงามให้กับนก เพราะขนจะฟูสวยงาม ไม่ขันในขณะทำการแข่งขัน ทำให้กรงนกแห้งเป็นการยืดอายุการใช้งานของกรงนกออกไปอีก หากกรงไม่แห้งไม้จะพอง จุดเชื่อมข้อต่อจะหลวมและหลุดออก อาจทำให้ซี่กรงขึ้นราได้