หลังจากที่เลี้ยงและฟูมฟักดูแลรักษานกมาเป็นอย่างดีแล้ว
ควรเริ่มซ้อม แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดด
เมื่อแขวนนกแล้วลองสังเกตว่านกเริ่มสู้แล้วหรือยัง
ถ้ายังไม่สู้ให้ยกนกออกไปจากราวไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปก่อน เพราะหากยังแขวนไว้
จะทำให้นกแพ้และไม่สู้นกตัวอื่นอีกเลย ต้องขยันหิ้วนกไปเที่ยว และต้องซ้อมบ่อยๆ
โดยซ้อมสัปดาห์ละ 1-2
วัน ช่วงเวลาการซ้อม หากนกสู้แล้วควรซ้อมตั้งแต่ 9.00 น. - 13.00 น. หากเป็นนกใหม่ซ้อมเพียงเล็กน้อย
เพื่อให้เกิดความเคยชินกับสนามแล้วจึงแยกออกไปแขวนห่างๆ เพื่อให้นกเกิดความคึกคะนอง
ก่อนจะนำนกไปเที่ยวหรือไปสนามซ้อม ต้องใช้ผ้าคลุมกรงนกทุกครั้ง
เพื่อให้นกตื่นตกใจน้อยที่สุด ควรเปลี่ยนกรงนกบ่อยๆ
เพื่อให้นกคุ้นเคยกับการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ป้องกันการตื่นตกใจกลัว
เนื่องจากความไม่ชินกับสภาพกรงที่ผิดแผกไปจากเดิม ทำให้นกมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา
ในวันปกติให้แขวนนกแต่ละตัวให้ห่างกัน เพื่อไม่ให้เห็นกัน
ให้ได้ยินแค่เสียงร้องก็พอ เพื่อนกจะได้คึกคัก ให้นกอาบน้ำในเวลาบ่ายหรือยามเย็นประมาณ
15.00 น. - 17.00 น.
แต่งตัวและตามกขนให้แห้งสนิทก่อนจะเก็บไว้ทุกวัน
เพื่อเพิ่มความสวยงามและปลอดโปร่งสบายให้แก่นก
เพราะนกกรงไวจุกชอบความสะอาดดูแลความเรียบร้อยของตัวเองอยู่เสมอ
ต้องเปลี่ยนน้ำกินและน้ำอาบทุกวัน ล้างถาดรองขี้นกทุกวัน
กรงสะอาดจะทำให้นกสดชื่นคึกคัก
ให้ลองสังเกตดูว่าหากนกไม่ได้อาบน้ำและไม่ล้างทำความสะอาดหลายๆ วัน
นกจะสลัดขนอ่อนบนลำตัวออกและมีอาการซึม ขณะที่แขวนนกตัวที่มีท่าทีว่าจะคึก ให้หมั่นเอานกล่อนกที่ไม่สู้หรือไม่คึกไปเทียบบ่อยๆ ให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้นกมีอาการคึกคักพร้อมจะสู้และสร้างความมั่นใจว่าตัวเองขู่ตัวอื่นได้ นกจะมีความมั่นใจและเก่งมากขึ้น เมื่อนำไปแขวนที่ราวซ้อม นกจะพร้อมต่อสู้กับตัวอื่นตลอดเวลาโดยไม่กลัว เนื่องจากนกมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการเรียนรู้นิสัยของนก เราจึงต้องสังเกตและเอาใจใส่ เพื่อจะได้รู้จักนกของเราอย่างแท้จริง เช่น ชอบกระโดดเกาะหรือชอบวิ่งถ้วย ซึ่งจะมีผลอย่างมากเมื่อนำนกไปแข่ง นกจะพร้อมสู้ตลอดเวลา ไม่เบื่อหน้ากัน ให้ใช้ผ้าคลุมกรงนกเพื่อให้นกพักผ่อนได้เต็มที่ ก่อนถึงวันแข่งขัน 1-2 วัน ให้เปลี่ยนกรงนกที่เป็นกรงแข่งมีลวดลายสวยงาม ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งยังไม่มีนกที่ดีและเก่งพอที่จะเป็นนกครูฝึกได้
คุณสมบัติของนกต้นแบบ
เสียงต้องดี ต้องมีน้ำหนักเสียงที่ดีมากที่สุด คือมีสำนวนการร้องจำนวน 5-7 พยางค์ หรือดีกว่านั้นก็คือ 7-9 พยางค์ ยิ่งได้นกที่ร้องได้หลายพยางค์ นกที่นำมาซ้อมก็จะยิ่งเก่งมากขึ้น นกครูต้องมีนิสัยดี เนื่องจากเป็นนกต้นแบบ หากนกครู แสดงนิสัยที่ไม่ดีให้นกที่เรานำมาซ้อมเห็นนิสัย เช่ย การจิกทำร้ายตัวเอง จิกขา จิกขน จิกหาง เป็นต้น นกของเราก็จะรับเอานิสัยที่ไม่ดีนั้นมาด้วย
เพลงดี นกครูที่ดีต้องร้องเพลงได้หลายทำนอง ไม่ว่าจะเป็นเพลงยาวหรือสั้น การริก เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ถ้าหากนกครูชอบเพลงที่ไม่ได้ทำให้คะแนนการร้องเพลง เช่น การร้องเพลงยาว แต่เป็นฟ้อนไม่ได้ศัพท์หรือเพลงเร็ว เป็นต้น
การฝึก
การฝึกนกกรงหัวจุกในระยะเริ่มต้นไม่ต้องซ้อมหนักจนเกินไป ระยะการซ้อม 7 วันแรก ให้ซ้อมวันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง พอครบสัปดาห์ก็เพิ่มเป็นวันละ 4 ชั่วโมง และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อยู่อย่างนี้ประมาณ 1 เดือน นกที่นำมาซ้อมจะเรียนรู้จากนกครูได้พอสมควร พอย่างเข้าเดือนที่ 2 และ 3 เราจะสังเกตเห็นว่านกตัวไหนมีลักษณะเป็นอย่างไร มีวิวัฒนาการไปแค่ไหน เช่น หากมีการฝึกซ้อมนกนอกสถานที่ ผู้เลี้ยงก็นำนกที่ฝึกมาไปเลี้ยงด้วย นกตัวดังกล่าวไม่มีลีลาของนกแข่งเลย ไม่ร้อง ไม่สู้ เอาแต่เกาะคอนนิ่ง แสดงว่านกตัวนั้นใช้ไม่ได้ แต่ถ้าหากนกามีอาการสู้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปอีกระดับหนึ่ง
นกที่ลงฝึกซ้อมได้ 3 เดือน ผู้เลี้ยงจะมองลักษณะของนกออกนกที่มีลักษณะดีก็เอาไว้เลี้ยงต่อ แต่ถ้าใช้ไม่ได้ก็คัดออก ในระยะที่สอนนี้เป็นการพิสูจน์ตัวเองของนกว่ามีความสามารถที่จะเรียนรู้จากนกครูได้มากน้อยเพียงใด โดยวิธีทดสอบอยู่หลายวิธี วิธีที่นิยมมากที่สุดคือ การนำนกขึ้นซ้อมแข่ง แล้วดูการยืนระยะของนกว่ายืนได้นานเท่าไหร่ และมีลักษณะการยืนอย่างไร ยืนแบบหัวหด หรือยืนแบบอกผายไหล่ผึ่ง เป็นการข่มคู่ต่อสู้ โดยการยืนระยะของนกนั้น ผู้เลี้ยงต้องสังเกตหรือจับเวลาขณะที่นำไปซ้อม โดย 1 ยก จะใช้เวลาประมาณ 25 นาที สังเกตอยู่ประมาณ 3 ยก ถ้าหากนกของผู้เลี้ยงที่นำมาซ้อมนั้น สามารถนำมาซ้อมนกตัวอื่นด้วยการแสดงลีลาประกอบกับการใช้เสียงร้องในการต่อสู้กับนกตัวอื่นได้ประมาณ 2 ใน 3 ยก ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ถ้าจะให้ดีการทดสอบการยืนระยะของนกควรเปลี่ยนราวให้นกได้ต่อสู้กับนกตัวอื่นๆ บ้าง เพื่อที่นำจะได้เรียนรู้หลายสถานการณ์ และการเปลี่ยนหน้าคู่ต่อสู้ ป้องกันไม่ให้นกเกิดอาการเบื่อหน่าย ถ้าหากมีการเปลี่ยนที่แขวนนกจะได้เจอคู่ต่อสู้ใหม่ๆ แล้วถ้ายังมีลีลา การยืน การบิน กางปีก กางหางส่งเสียงร้องอยู่อย่างเดิม ก็แสดงว่านกตัวดังกล่าวอยู่ในที่พร้อมที่จะถูกส่งลงสนามได้แล้ว ในระยะที่สาม หลังจากที่นกกรงหัวจุกได้ผ่านมาถึง 2 ระยะแล้ว ในระยะนี้ก็เหมือนกับนักศึกษาที่เรียนปี 4 แล้ว พร้อมที่จะลงสนามสอบแข่งขันกับนักศึกษาสถานบันอื่นๆ หรือยัง การฝึกซ้อมในระยะนี้เป็นการฝึกให้นกมีความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจให้เป็นนักสู้ร้อยเปอร์เซ็นต์
ลักษณะของนกที่พร้อมจะแข่งขัน
- แววตาสดใสไม่ขุ่นมัว ไม่เซื่องซึม ขนไม่ร่วง
- กินจุ ถ้าเป็นอาหารโปรดจะกินหมดทุกครั้งที่ให้
- เห็นคู่ต่อสู้แล้วแสดงอาการคึกคักอยากเข้าไปต่อสู้ กางปีก กางหาง ส่งเสียงร้องขู่คู่ต่อสู้
- ขนมันวาว โดยเฉพาะบริเวณแก้ม จุก ปลายขนไม่แตก โดยเฉพาะขนหางและขนปีก
- มีระบบขับถ่ายที่สมบูรณ์ มูลจะไม่เหลวหรือแน่นเกินไป
- ชอบอาบน้ำ ดูแลร่างกาย รักสวยรักงาม
- เห็นคู่ต่อสู้แล้วแสดงอาการคึกคักอยากเข้าไปต่อสู้ กางปีก กางหาง ส่งเสียงร้องขู่คู่ต่อสู้
- ขนมันวาว โดยเฉพาะบริเวณแก้ม จุก ปลายขนไม่แตก โดยเฉพาะขนหางและขนปีก
- มีระบบขับถ่ายที่สมบูรณ์ มูลจะไม่เหลวหรือแน่นเกินไป
- ชอบอาบน้ำ ดูแลร่างกาย รักสวยรักงาม
สาเหตุของนกไม่สู้
- นกอายุยังน้อย ยังอ่อนหัดอยู่
- ไปเจอนกที่ดุในสนามแข่งขัน ทำให้กลัวและเข็ดไปในที่สุด
- ร่างกายไม่สมบูรณ์
- ไม่ชินกับเสียงเชียร์ทีดังในสนามแข่ง
- เป็นนิสัยของนกเอง แก้ไขไม่ได้
- ร่างกายไม่สมบูรณ์
- ไม่ชินกับเสียงเชียร์ทีดังในสนามแข่ง
- เป็นนิสัยของนกเอง แก้ไขไม่ได้
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่ชอบเลี้ยงนกแต่ไม่ค่อยมีเวลา
- ในตอนเช้าก่อนไปทำงาน เปิดผ้าคุม ชำระขี้นกจากถาดรองให้สะอาด
- ให้อาการโดยให้ผลไม้อย่างน้อย 2 ชนิด รวมทั้งหนอน โดยเทรวมกันไว้ที่เดียวกัน
- นำนกไปแขวนไว้ในที่มีแสงแดดประมาณ 7.00 น.-11.00 น. จากนั้นก็ร่ม โดยการสังเกตุสถานที่และทิศทางของแสงหลังจากเลิกงานก็กลับมาดูแลนก หมั่นหยอกล้อมัน เท่านี้ก็สามารถเลี้ยงนกได้ แม้จะมีเวลาน้อยก็ตาม
- นำนกไปแขวนไว้ในที่มีแสงแดดประมาณ 7.00 น.-11.00 น. จากนั้นก็ร่ม โดยการสังเกตุสถานที่และทิศทางของแสงหลังจากเลิกงานก็กลับมาดูแลนก หมั่นหยอกล้อมัน เท่านี้ก็สามารถเลี้ยงนกได้ แม้จะมีเวลาน้อยก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น