วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การฝึกสอนนกให้ร้องเพลงอย่างถูกวิธี

การฝึกสอนนกให้ร้องเป็นเพลง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก เพราะเป็นหัวใจที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก คือต้องการให้นกกรงหัวจุกร้องได้เป็นเพลงตามที่ผุ้เลี้ยงต้องการ เพื่อจะได้นำนกกรงหัวจุกไปเข้าแข่งขันเสียงให้ได้รับชัยชนะกลับมา และนกที่ได้รับรางวัลก็จะเป็นนกที่มีคุณค่า และมีราคา เป็นที่ชื่นชอบของผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกทั่วไป การที่นกกรงหัวจุกจะร้องได้ดีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ

1.ตัวของนกกรงหัวจุกเอง 50% ว่าตัวนกมีความพร้อมหรือไม่ในด้านร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีจิตใจเบิกบานและร่าเริง อารมณ์แจ่มใส
2.การฝึกสอนนกอย่างมีเทคนิคและวิธีการต่างๆ 50%
สำหรับการฝึกสอนนกกรงหัวจุก จากการเลี้ยงและจากการไปคลุกคลีกับผู้เลี้ยงนกแต่ละคนก็มีเทคนิคและวิธีการต่างๆ กันดังนี้

1.ให้นำนกกรงหัวจุกไปแขวนไว้ที่หน้าบ้าน หรือร้านขายน้ำชากาแฟในตอนเช้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกนกไม่ให้ตื่นและกลัว นกกรงหัวจุกจะได้คุ้นเคยกับคนแปลกหน้า หรือเสียงพูดคุยกัน เสียงรถต่างๆ ที่ผ่านไปมาบนถนน เพราะโดยปกติแล้ว นกทุกชนิดมีสัญชาตญาณในการระแวง ถ้าหากไม่ฝึกให้คุ้นเคย และเวลาส่งนกกรงหัวจุกเข้าประกวดในสนามแข่งขัน ก็จะพบคนแปลกหน้า และมีเสียงรถ เสียงคนพูดคุยกัน เสียงคนเชียร์นกเวลากรรมการตัดสิน จะทำให้นกมีความเคยชินไม่มีการตื่นเต้นตกใจ

2.การนำนกกรงหัวจุกมาแขวนตากแดดในช่วงเช้าและช่วงบ่ายไว้หน้าบ้าน หรือชายคาบ้าน หรือกิ่งไม้ข้างบ้าน ราวเหล็ก เสาเหล็ก ที่ทำขึ้นสำหรับแขวนนกกรง ซึ่งก็มีวิธีการ ดังนี้

2.1 กรณีเป็นนกที่เพิ่งเลี้ยงและยังไม่เคยเข้าแข่งขัน ก็ให้นำนกใส่กรงไปตากแดดในตอนเช้าตามปกติประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้นกเคยชินกับแดด และร้องตามปกตินกจะหลบแดดเมื่อแดดร้อนเข้าไปในร่ม วันต่อๆมาก็เพิ่มชั่วโมง ฝึกให้นกร้อง เพราะเวลานำนกกรงหัวจุกเข้าประกวดแข่งขัน นกจะต้องตากแดดอยู่หลายชั่วโมง และแสงแดดมีวิตามินดี ทำให้กระดูกแข็งแรงและขนนกเป็นมัน เพราะขนนกก็มีแคลเซียมประกอบอยู่ด้วย
2.2 กรณีการฝึกนกที่จะเข้าประกวดแข่งขัน ในการแข่งขันจะเริ่มประกวดแข่งขันนกกรงหัวจุกในเวลา 10.00 - 13.00 น. ขึ้นไป ซึ่งก็แล้วแต่จะมีนกส่งเข้าประกวดมากน้อยเท่าไหร่ ถ้ามีนกเข้าประกวดมาก ก็ต้องใช้เวลามากกว่านี้ และไม่มีการเอานกกรงหัวจุกไว้ในที่ร่มขณะเข้าแข่งขัน เพราะฉะนั้น การฝึกนกกรงหัวจุกให้เป็นนกที่ทนแดดและความร้อนได้ดี ผุ้เลี้ยงจึงต้องนำนกกรงหัวจุกไปแขวนตากแดดตั้งแต่เวลาประมาณ 08.30 - 13.00 น. ขึ้นไป ขณะที่ให้นกตากแดด ก็ต้องฝึกสอนให้นกร้องเพลงด้วย ให้ทำเหมือนกับการประกวดจริงๆ จากนั้นก็ให้นำนกมาไว้ในที่ร่มเพื่อพักผ่อน พอเวลา 15.00  - 16.00 น. ก็ให้นำนกใส่กรงไปแขวนไว้เหมือนเดิมเช่นในตอนเช้า

3.การฝึกนกให้เลียนเสียงร้องของนกที่เคยได้รับรางวัล ปกตินกกรงหัวจุกเป็นนกที่จำเสียงได้ดี ให้นำนกกรงหัวจุกที่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขัน มาแขวนไว้ใกล้กับนกกรงหัวจุกที่ต้องการฝึก แต่อย่าให้อยู่ใกล้นัก เพราะนกใหญ่กว่าจะข่มขู่นกที่เล็กกว่า ควรให้อยู่ห่างพอสมควร ให้นกกรงหัวจุกตัวที่ได้รับรางวัลร้องให้ฟัง นกที่เราต้องการฝึกก็จะจดจำ ปกตินกกรงหัวจุกจะจดจำเสียงได้ โดยเฉพาะเสียงเจ้าของนกและผู้เลี้ยงก็ต้องกระตุ้นให้นกที่ฝึกร้องตามด้วย เมื่อได้ฟังนก่กรงหัวจุกต้นแบบร้อง ต่อไปนกที่ฝึกก็อาจจะร้องตาม และจะมีเสียงร้องได้ชัด เหมือนนกกรงหัวจุกต้นแบบที่ผุ้เลี้ยงนำมาให้ฝึก

4.การซื้อม้วนเทปร้องของนกกรงหัวจุกทีร้องได้รับรางวัลมาฝึกโดยผู้เลี้ยงไปซื่อตลับเทปตามร้านอุปกรณ์ขายนกมาฝึก ซึ่งในตลับเทปจะอัดเสียงนกกรงหัวจุกที่ได้รับรางวัล ผุ้เลี้ยงก็นำมาเปิดให้นกที่ฝักฟ้งในช่วงที่นำนกไปตากแดด นกที่ฝึกก็จะจำและร้องเลียนเสียงนกที่ได้รับรางวัลเหมือนกับคนเราไปซื้อเทปของนักร้องที่เราชอบมาเปิดเทปฟัง แล้วเราก็ร้องตามเพลง นกกรงหัวจุกก็เช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้นกกรงหัวจุกร้องได้ดี

5.การนำนกกรงหัวจุกไปฝึกซ้อม ผุ้เลี้ยงต้องนำนกกรงหัวจุกไปฝึกซ้อมกับนกกรงหัวจุกตัวอื่นๆ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จะทำให้นกชินและร้องเพลงได้ดี

6.การฝึกโดยการเป่านกหวีด ในสนามแข่งขันจริงๆ เวลาในการแข่งขันประชันเสียงจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที ต่อ 1 ยก เสียงกรรมการจับเวลาจะเป่านกหวีด ปิ้ดๆ หลายๆ ครั้ง แสดงว่าเตรียมตัว หมายถึงให้กรรมการตัดสินนกเตรียมตัว และจะเป่าปิ้ดยาวๆ อีก 1 ครั้ง แสดงว่าให้กรรมการเริ่มตัดสินได้ ผุ้เลี้ยงควรเอานกหวีดมาฝึกสอนนกว่าเมื่อได้ยินเสียงเป่านกหวีด ปิ้ดยาวๆ นกกรงหัวจุก ก็จะเริ่มร้องเหมือนในการประกวดแข่งขันจริง เพราะโดยปกติ นกกรงหัวจุกก็เป็นนกที่ร้องทั้งวันอยู่แล้ว ไม่ต้องกลัวนกจะไม่ร้อง

7.การฝึกนกให้จำชื่อตัวนกและเสียงเจ้าของได้ โดยปกติ ผุ้เลี้ยงกับตัวนกกรงหัวจุกจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะนกที่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลก็จะชอบผุ้นั้น และจำเสียงผู้เลี้ยงได้ ดังนั้น ผุ้เลี้ยงจึงควรตั้งชื่อนก นกก็จะจำเสียงเรียกชื่อตัวเองได้ รวมทั้งผุ้เลี้ยงต้องทำมือดีดนิ้ว ประกอบการทำเสียงและเรียกชื่อด้วย ให้ทำทุกวันจนนกจำได้ และร้องเพลง เมื่อผู้เลี้ยงทำเสียงเรียกชื่อ ดีดนิ้ว ครั้งต่อไปทั้งในเวลาเลี้ยงตามปกติ หรือในสนามแข่งขัน นกกรงหัวจุกก็จะร้อง โดยเฉพาะถ้านกร้องได้ตั้งแต่ 3 คำขึ้นไป และร้องเป็นเพลง ผุ้เลี้ยงต้องพูดชมนกต่อท้ายไปด้วยว่า เก่ง เพื่อให้นกจำได้ว่าร้องแบบนี้ เก่งแล้ว ดีแล้ว เหือนกับเราชมลูกของเราว่า ลูกทำเก่งทำดีแล้ว

8.การแขวนนกกรงหัวจุกไว้ใกล้ๆกัน การที่แขวนนกกรงหัวจุกไว้ใกล้ๆ กัน เป็นการฝึกให้นกเหมือนอยู่ในสนามแข่งขัน จะทำให้เคยชิน ไม่ตื่นสนาม โดยการนำนกกรงหัวจุกที่ไม่ค่อยสู้มาล่อ นกก็จะเกิดความกล้า และสามารถร้องสุ้กับตัวอื่นๆ ได้ โดยไม่กลัว

9.การนำนกกรงหัวจุกใส่กรงพาไปในที่ต่างๆ ให้ใช้ผ้าคลุมกรงก่อนนำนกไป เช่น พานกไปบ้านเพื่อน เพื่อไปประชันเสียงกับนกของเพื่อน พานกไปสนามซ้อม เป็นการทำให้นกคลายเครียดเหมือนกับเราพาลูกไปเที่ยว การพานกขึ้นรถเดินทางไปบ่อยๆ และนำนกไปแขวนไว้หลายๆ ที่เป็นการฝึกซ้อมนก ให้นกเคยชินและไม่ตื่นกลัว เวลาเราพานกกรงหัวจุกไปในสนามประกวดแข่งขันก็ไม่ตื่นตกใจและไม่กลัว

10.การเปลี่ยนกรงนก นกกรงหัวจุกที่เลี้ยงอยู่ทุกวัน เมื่อถึงเวลาแข่งขัน ผุ้เลี้ยงที่ทำกรงพิเศษไว้สำหรับใส่นกพาไปประกวดแข่งขัน ก็จะเปลี่ยนกรงใหม่ เพื่อเป็นการฝึกและสร้างความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนกรงนก หรือเปลี่ยนที่อยู่ของนก นกก็จะไม่ตื่นกรงใหม่ โดยก่อนถึงวันประกวดแข่งขันประมาณ 3-4 วัน ให้นำนกไปใส่ไว้ในกรงใหม่ เพื่อนกจะได้รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน เช่น คอนเกาะ น้ำและอาหารอยู่ตรงไหน นกกรงหัวจุกก็จะไม่ตื่นกรง และเคยชินกับกรงใหม่

11.การฝึกนกถ่ายขนหรือผลัดขนให้ร้อง ในเวลาที่นกถ่ายขนหรือผลัดขนใหม่ นกจะซึม กระโดดไปมาน้อย ไม่คอ่ยกินอาหาร ก็ต้องพานกไปหานกกรงหัวจุกตัวอื่น เพื่อทดสอบจิตใจ ควรพาไปฝึกซ้อมหรือพาไปในการประกวดด้วย แต่ไม่ต้องส่งเข้าประกวด ซึ่งจะเป็นการฝึกหัดนกที่ผลัดขน เมื่อได้ยินเสียงนกตัวอื่นร้องก็จะได้ร้องโต้ตอบ ทำให้เวลาผลัดขน ครั้งต่อไปนกก็ร้องได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น