การประกวดแข่งขันนกกรงหัวจุกในประเทศไทย
ได้จัดให้มีการประกวดในครั้งแรกที่จังหวัดสงขลา ประมาณปี 2519 ต่อมาก็มีผู้นิยมเลี้ยงนกกรงหัวจุกไปแทบทุกภาคของประเทศไทย
ซึ่งมีการประกวดแข่งขันตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน จนถึงระดับประเทศ
และกลายเป็นวิธีชีวิตที่ผูกพันกับคนไทย เหตุที่นกกรงหัวจุกเป็นทีนิยมเลี้ยง
ก็เพราะนกกรงหัวจุกมีเสน่ห์ ดังนี้
- มีรูปทรงสวยงาม จุกที่หัวเป็นจุดเด่น มีขนสีแต่งแต้มดูแล้วสวยงามดี เช่น จุดสีแดงที่ใต้ตา สีขาวที่แก้ม สีแดงส้มที่โคนหางด้านใน มีขนหน้าอกสีขาวเป็นปุยเหมือนสำลี
- มีรูปร่างกะทัดรัดสมส่วน เป็นนกขนาดไม่เล็กและใหญ่จนเกินไป
- มีท่าที ลีลา การกระโดดดูแล้วสวยงาม
- มีน้ำเสียงดี เสียงหวานก้องและกังวาน ได้ฟังแล้วเพลิดเพลินดีเหมือนคนชอบร้องเพลง และฟังเพลง
- สำนวนที่ร้องดี สามารถร้องเป็นเพลง ในแบบของนกได้
- มีเสียงร้อง รก ซึ่งเป็นเสียงร้องขู่ หรือข่มขวัญคู่ต่อสู้ ซึ่งเป็นช่วงที่นกมีความคึกคักที่สุด
นอกจากมีการประชันเสียงแล้ว ผู้ส่งเข้าประกวดนกกรงหัวจุก ก็ยังมีการประชันความสวยงามของกรงนก และผ้าคลุมกรงนกสวยงามมีหลากสีสัน ดูว่าของใครจะสวยกว่า สำหรับการประกวดแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุก
การเตรียมนก,มารยาทผู้ส่งนก,และประโยชน์ของการเลี้ยงนก
การเตรียมนกก่อนแข่งขัน มีดังนี้
1.การเตรียมอาหารและเตรียมน้ำให้มาก เพราะนกขาดน้ำ เสียงนกจะแหบ
รวมทั้งเตรียมน้ำสำรองในเวลาพักนกด้วย
2.การเตรียมกรงที่จะใส่นกกรงหัวจุกเข้าประกวด โดยเปลี่ยนกรงก่อนสัก 3-4 วัน เพื่อให้นกเคยชินกับกรง
3.การฝึกสอนนกให้บ่อยมากยิ่งขึ้น
4.การบำรุงให้นกเสียงดี และร้องได้นาน
2.การเตรียมกรงที่จะใส่นกกรงหัวจุกเข้าประกวด โดยเปลี่ยนกรงก่อนสัก 3-4 วัน เพื่อให้นกเคยชินกับกรง
3.การฝึกสอนนกให้บ่อยมากยิ่งขึ้น
4.การบำรุงให้นกเสียงดี และร้องได้นาน
มารยาทของผู้ส่งนกเข้าแข่งขัน
มีดังนี้
1.ควรส่งนกกรงหัวจุกก่อนจะมีการแข่งขันอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
2.ควรอยู่นอกเขตเชือกกั้น ไม่ควรเข้าไปในเขตเชือกกั้น เพราะจะทำให้นกตื่นตกใจและไม่ร้อง
3.การเชียร์นกให้ร้อง อย่าใช้วัสดุ เช่น เสื้อ ผ้าคลุมกรงโบกสะบัด เพื่อเชียร์ให้นกร้อง เพราะนกตัวอื่นๆ อาจจะตกใจและไม่ร้อง รวมทั้งการส่งเสียงร้องเชียร์นกดังเกินไป นกอื่นอาจจะตกใจและไม่ร้องได้เช่นกัน สำหรับการประกวดแข่งขันประชันเสียงนกกรงหัวจุก จะเริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์-เดือนตุลาคมของทุกปี เพราะช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.-ม.ค. ทางภาคใต้จะเป็นช่วงฝนตก นกกรงหัวจุกจะไม่ค่อยร้องแต่ถ้ามีแดดนกกรงหัวจุกจะร้องดี
1.ควรส่งนกกรงหัวจุกก่อนจะมีการแข่งขันอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
2.ควรอยู่นอกเขตเชือกกั้น ไม่ควรเข้าไปในเขตเชือกกั้น เพราะจะทำให้นกตื่นตกใจและไม่ร้อง
3.การเชียร์นกให้ร้อง อย่าใช้วัสดุ เช่น เสื้อ ผ้าคลุมกรงโบกสะบัด เพื่อเชียร์ให้นกร้อง เพราะนกตัวอื่นๆ อาจจะตกใจและไม่ร้อง รวมทั้งการส่งเสียงร้องเชียร์นกดังเกินไป นกอื่นอาจจะตกใจและไม่ร้องได้เช่นกัน สำหรับการประกวดแข่งขันประชันเสียงนกกรงหัวจุก จะเริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์-เดือนตุลาคมของทุกปี เพราะช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.-ม.ค. ทางภาคใต้จะเป็นช่วงฝนตก นกกรงหัวจุกจะไม่ค่อยร้องแต่ถ้ามีแดดนกกรงหัวจุกจะร้องดี
ประโยชน์ของการเลี้ยงนกกรงหัวจุก
1.จะเป็นการให้พวกวัยรุ่นลดละเลิก ในเรื่องติดยาเสพติด
เพราะจะมาสนใจเลี้ยงนกกรงหัวจุก
2.เป็นการพักผ่อน คลายเครียด เพลิดเพลินใจ เหมือนกับฟังเสียงร้องของนกเป็นเสียงดนตรีธรรมชาติ หรืออยู่ในธรรมชาติ
3.เป็นการสร้างความภูมิใจให้แก่ผู้เลี้ยงที่ได้รับรางวัล
4.เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะที่ชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก มีการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนคามคิดเห็นกัน
5.เป็นการสร้างรายได้ และการกระจายรายได้ไปให้แก่คนหลายอาชีพ
6.เป็นประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีของท้องถิ่น
7.หากมีการเพาะพันธุ์จำหน่ายก็จะกลายเป็นสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ได้
2.เป็นการพักผ่อน คลายเครียด เพลิดเพลินใจ เหมือนกับฟังเสียงร้องของนกเป็นเสียงดนตรีธรรมชาติ หรืออยู่ในธรรมชาติ
3.เป็นการสร้างความภูมิใจให้แก่ผู้เลี้ยงที่ได้รับรางวัล
4.เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะที่ชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก มีการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนคามคิดเห็นกัน
5.เป็นการสร้างรายได้ และการกระจายรายได้ไปให้แก่คนหลายอาชีพ
6.เป็นประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีของท้องถิ่น
7.หากมีการเพาะพันธุ์จำหน่ายก็จะกลายเป็นสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น